วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อะไรน๊ะ ??? จะยุบ อบจ.เหรอ ฝันไปเถอะ

      นรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีแรงกระเพื่่อมจากหลายฝ่าย นั้นคือการจะยุบองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
       ที่จริงการเสนอยุบ อบจ. ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในตอนนี้ แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วและได้รับการต่อต้าน ไม่เห็นด้วย บทความนี้จึงเสนอความเป็นไปเป็นมาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดดังนี้
       ก่อนที่จะกล่าวถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยากนำเสนอภาพรวมว่าประเทศไทยมีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินยังไง ซึ่งไทยเรานั้นแบ่งการบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนกลางมีการจัดส่วนราชการเป็นกระทรวง กรม มีหน้าที่กำหนดนโยบาย หรือยุทธศาสตร์ พร้อมรับมอบนโยบายจากรัฐบาลผ่านคณะรัฐมนตรี  (2) ส่วนภูมิภาค มีการจัดหน่วยงานเป็นจังหวัดและอำเภอนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของแต่ละกระทรวงตั้งอยู่ด้วย เช่น พาณิชย์จังหวัด เกษตรอำเภอเป็นต้น (3) ส่วนท้องถิ่นปัจจุบันมี 5 แบบ ซึ่งสรุปได้ตามภาพ

   การปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะพิเศษตรงที่ให้คนในท้องถิ่นมีอำนาจในการบริหาร มีอิสระในการบริหารทั้งด้านนโยบาย บุคคล การเงิน วัสดุครุภัณฑ์ ทำให้มีข้อโต้แย้งจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยที่จะยุบ   อบจ. เนื่องจากว่าเป็นการลดการกระจายอำนาจ แต่เท่าที่รวบรวมข้อมูลจากสื่อต่างๆ มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือกลัวฐานเสียงพัง นั้นคือคะแนนเสียงหรือฐานเสียงของการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชนะการเลือกตั้งในระดับชาติ
   นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องบุคลากรประจำที่มีจำนวนนับหมื่นคน ถ้ายุบแล้วจะโยกคนเหล่านี้ไปไว้ไหนไล่ตั้งแต่ตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจนถึงลูกจ้างต่างๆ
   ถ้าจะดูความเป็นไปเป็นมาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นมันก่อเค้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 นั้นคือหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ 1 ปี จะเห็นได้ว่าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ
    .. 2481  ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.. 2481 ทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกรมการจังหวัด
     .. 2498   ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.. 2498
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.. 2498   กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดภายในเขตจังหวัดซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล สุขาภิบาล และหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบอื่น
     พ.. 2540  ได้มีการตรา พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 มาใช้บังคับแทน พ...องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2498 
    สรุป จะเห็นได้ว่า อบจ. มีอายุไม่น้อยกว่า 70 ปี การที่จะยุบนั้นควรมีการศึกษาผลกระทบและชี้แจงถึงข้อดีข้อเสียของการยุบให้กับทุกฝ่ายให้รับทราบ ถ้าทำงานซ้ำซ้อนจริง เปลืองงบประมาณจริงหรือการยุบมีข้อดีกว่าก็ยุบเถอะครับ อำนาจอยู่ในมือท่าน ส่วนข้อโต้แย้งที่บอกว่าลดการกระจายอำนาจนั้นท่านอย่าลืมนะครับ มีรูปแบบการปกครองหลากหลายรูปแบบที่สามารถกระจายอำนาจได้และอาจดีกว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ได้ เช่นร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ที่ร่างโดยประชาชนคนเชียงใหม่ ดังนั้นแล้วถ้ายุบแล้วเกิดผลดีก็ยุบเถอะ ก่อนปิดท้ายบทความขอให้ท่านอ่านและพิจารณาข้อความข้างล่างนี้ว่า จริงๆแล้วเรื่องนี้มีคนเข้าใจมากน้อยแค่ไหน หรือเป็นแค่ตาบอดคลำช้าง

       "  รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม รองประธานศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าพรรคเพื่อไทยทั้งพรรคมีความเข้าใจในเรื่องการปกครองท้องถิ่น และการกระจายอำนาจหรือไม่ แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือ รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ยอมเคลียร์ว่า อบจ.มีทำหน้าที่อะไร ส่วนตัวมองว่า อำนาจของรัฐบาลมีมากไป เจ้าหน้าที่ในระดับส่วนกลางตกอยู่ในอำนาจของรัฐบาลมากเกินไป ตลอดเวลารัฐบาลนำงบไปโป๊ะอยู่ที่จังหวัดมากไป ขณะที่งบขององค์กรท้องถิ่นได้น้อยเป็นอย่างมาก ดังนั้นแนวทางที่ถูกต้องคือเราต้องลดอำนาจรัฐบาล และเพิ่มอำนาจให้แก่ท้องถิ่น" (ที่มา :คมชัดลึกออนไลน์ วันที่ 4 มิถุนายน 2556)



  













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น