วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทหารกับการยึดอำนาจการเมืองของไทย ตอน 1

            ถ้ามีคนมาถามว่าทหารคือ.... ก็ไม่รู้ว่าผู้อ่านจะตอบว่าอย่างไร ถ้ามาถามผู้เขียนก็นึกถึงชายหรือหญิงใส่ชุดสีเขียวถือปืนมีหน้าที่ต่อสู้ ป้องกันรัฐมิให้ตกเป็นเมืองขึ้นหรือเสียเอกราชให้กับรัฐอื่น กล่าวง่ายคือมีหน้าที่ป้องกันประเทศ



              ในความหมายที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรมให้ความหมายของทหารว่า ทหารหมายถึงนักรบ ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ ชายหนุ่ม, ชายฉกรรจ์, ชายที่เกณฑ์ เข้าฝึกเป็นนักรบ แต่ปัจจุบันประเทศไทยพัฒนาไปมากจับผู้หญิงมาเรียนนายร้อยทหาร อย่างนี้ต้องปรับปรุงพจนานุกรมเป็น ทหาร หมายถึง ชายหนุ่ม หญิงสาว ชายฉกรรจ์ หญิงฉกรรจ์ (ฮา) เข้าฝึกเป็นนักรบ
             สำหรับประวัติศาสตร์ของทหารของไทย เท่าที่เรียนมาทหารมีมาพร้อมกับประวัติศาสตร์การก่อตั้งรัฐไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี รัตนโกสินทร์  และในช่วงที่เรียนมีการแบ่งเป็นทหารที่มิใช่อาชีพ มิได้มีการการตั้งสถาบัน แต่มีลักษณะทหารจำเป็น โดยมีเกณฑ์แบ่งที่รัชกาลที่ 5
            แต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี รัตนโกสินทร์ สมัยก่อนรัชกาลที่ 5 จะมีทหารที่อาสาและจงใจเข้ามารับราชการ กลุ่มนี้ จะเรียน หรือฝึกวิชาที่วัด ที่สำนักที่มีการตั้งขึ้น (ตัวอย่างขุนแผนก็เรียนที่วัดจนมีวิชาอาคมแก่กล้า ฟันแทงไม่เข้า เสกกองทัพได้เอง (ฮา) ) ส่วนสำนักส่วนมากจะเป็นอาวุธพวกดาบ หรือเพลงมวย เช่น สำนักดาบวังจันทร์ สำนักดาบพุทไธสวรรย์ สำนักดาบวังหน้า เป็นต้น (ของจีนก็มี เช่นสำนักวัดเส้าหลิน สำนักบู๊ตึ้ง)  เมื่อมีวิชา มีฝีมือ ก็ได้เข้ารับราชการมียศเป็นขุน เป็นพระ เป็นพระยา เป็นเจ้าพระยา เป็นต้น กลุ่มนี้ถึงแม้รับราชการแต่ก็ไม่มีเงินเดือนให้ มีแต่เบี้ยหวัด ข้าทาสบริวาร (ตัวอย่างขุนแผนเมื่อรบชนะได้สิ่งของมากมาย) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นทหารจำเป็น นั้นคือชายฉกรรจ์ ที่เป็นประชาชน(เรียกว่าไพร่(ไม่เกี่ยวกับวาทกรรมของคนบางกลุ่มที่ให้สมญานามตัวเองว่าไพร่นะครับ) กลุ่มประชาชนทั่วไปจะมีการสักเลกตรงข้อมือนั้นคือมีการทำสัญลักษณ์เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมกำลังคนและเพื่อแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงที่มีสังกัดกรมกอง แต่ถูกยกเลิกไปในรัชสมัยรัชกาลที่ 4
        ไพร่เหล่านี้เวลาปกติจะถูกเกณฑ์ทำงานไม่ว่าจะเป็นการสร้างปราสาทราชวัง ขุดสระน้ำ เป็นต้น และมีการเข้าเวร (ตัวอย่างวรรณกรรมขุนข้างขุนแผนต้องมาเข้าเวร แต่วันหนึ่งขุนแผนมีเหตุไม่สามารถเข้าเวรได้ฝากเวรให้กับขุนช้าง ขุนช้างหักหลังฟ้องว่าหนีเวรทำให้ขุนแผนได้รับโทษ) ส่วนประชาชนหัวเมืองชั้นนอกถ้าไม่อยากเข้าเวรก็จะหาสิ่งของมีค่ามามอบให้เพื่อแลกกับการไม่เข้าเวร
     ส่วนในเวลามีศึกสงครามไพร่เหล่านี้ก็จะถูกเกณฑ์ไปสู้รบ เป็นทหารจำเป็น มีบางคนที่ไม่อยากตกอยู่ในภาวะแบบนี้ จำต้องหนีไปอยู่ในที่ห่างไกล หรือหนีเข้าไปในป่าลึกๆ
      สรุปในสมัยก่อนจะมีมีโรงเรียนเปิดสอนวิชาทหารแบบสมัยใหม่ แต่จะหาเรียนกันเอง ส่วนอาชีพทหารก็ไม่มีเงินเดือน มีแต่เบี่ยหวัด ยศฐาบรรณาศักดิ์ ข้าทาส บริเวณ ซึ่งได้รับพระราชทานจากกษัตริย์
        ทหารแผนใหม่เริ่มขึ้นราวปี พ.ศ. 2430 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงสถาปนา “คาเด็ตสกูล” มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น “โรงเรียนทหารสราญรมย์” เป็น “โรงเรียนนายร้อยทหารบก” และเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(จปร.) ในปัจจุบัน ส่งผลให้มีกองทัพประจำ ที่พัฒนาจนมีกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
            สมัยโบราณการเกณฑ์ประชาชนมาเป็นทหาร  จะเกณฑ์เฉพาะมีข้าหรือศรัตรูมารุกราน และไม่ได้มีกฎหมายเป็นการเฉพาะแต่ในปี พ.ศ. 2448 มี พ.ร.บ.เกณฑ์ทหารเป็นครั้งแรก มีกองทัพประจำอย่างประเทศของโลกสมัยใหม่
      ทำไมทหารจึงเข้าแทรกแซงทางการเมือง  หากพิจารณาจากคำแถลงการณ์ของคณะนายทหารที่ทำการรัฐประหาร  เราจะพบว่าเขาทำเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน คือ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำบ้าง  เพื่อขจัดคอร์รัปชั่นบ้าง  เพื่อแก้ไขปัญหาความวุ่นวายของบ้านเมืองบ้าง แต่จากการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของไทยจะพบว่า นับแต่ประเทศไทยมีโรงเรียนสำหรับศึกษาอบรมคนให้เป็นทหาร เพียงแค่ 24 ปี ทหารก็กลายเป็นสถาบันใหม่ที่กลายเป็นคู่แข่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ในสมัยโบราณเท่าที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทหารจะไม่กล้ายึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ เพราะมีโทษหนักประหารถึงเจ็ดชั่วโคตร (นั้นคือโคตรนั้นหายไปเลย หรือประหารหมดตระกูล) มีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ ที่ควรเคารพยำเกรงและต้องทำตามคำสาบาน
      ในปี พ.ศ. 2454 ทหารยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 6 เหตุการณ์นี้เรียกว่ากบฏหมอเหล็ง เหตุที่เรียกกบฎเพราะปฏิบัติการไม่สำเร็จ มีหัวหน้าคือขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) มีอายุเพียง 28 ปี ยศร้อยเอก มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน มีผู้ร่วมก่อการประมาณ 100 คน เป้าหมายคือจะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชอำนาจโดยจำกัด(ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8F_%E0%B8%A3.%E0%B8%A8._130)


                                                
                                                      ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์)

           อีก 27 ปีต่อมา สถาบันทหารก็ทำการยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในการก่อการครั้งนี้ประสบความสำเร็จ มีชื่อกลุ่มก่อการว่า “คณะราษฎร”  มีผู้ร่วมก่อการเป็นพลเรือนด้วย เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่าปฏิวัติ เพราะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเต็มที่มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายนั้นคือรัฐธรรมนูญ เป็นการจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์มิให้บริหารบ้านเมือง
          เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จอมพลประภาส จารุเสถียร บรรยายว่า "นายร้อยเอกหลวงสวัสดิ์รณรงค์เล่าให้ฟังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างในเมืองอังกฤษ มีการเลือกตั้ง มีการจัดคณะรัฐบาลขึ้น เพื่อความเสมอภาคระหว่างคนในชาติ ไม่มีเจ้าไม่มีนาย.."






               ในวันที่ยึดอำนาจ จอมพลประภาส จารุเสถียร บรรยายว่า วันที่ 23 มิถุนายน 2475 นายร้อยเอกหลวงสวัสดิ์รณรงค์ผู้บังคับกองร้อยได้ประชุมแถวนักเรียนนายร้อยทุกกองร้อยพร้อมกันหมดและแจ้งให้ทราบว่าในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน กองทัพบกจะมีการแสดงการรบพิเศษระหว่างรถถังต่อสู้กับเครื่องบิน ณ บริเวณหน้าพระบรมรูปทรงม้า และนักเรียนนายร้อยจะได้รับการฝึกโดยไปเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย (ข้อคิดเห็นส่วนตัวการยึดอำนาจครั้งนี้ทำได้แนบเนียนมาก เป็นต้นฉบับลับ ลวง พราง ของแท้)



                                    พิธีเปิดสภาผู้แทนราษฎร 10 ธันวาคม 2475









              ขอบคุณภาพจากเว็บ http://www.photoontour.com/Misc_HTML/news/page/172_1.htm
             
                 ในตอนที่ 1 นี้จะจบลงตรงที่ทหารได้ทำการยึดอำนาจสำเร็จ และเริ่มการปกครองตามแบบใหม่ ซึ่งในตอนต่อไปจะกล่าวถึงทหารว่าเมือเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ทหารมีบทบาทอย่างไรต่อการเมืองไทย โปรดติดตามครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น