วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สหฟาร์มเจ๊ง : ล้มบนฟูกหรือไม่? ผิดจริยธรรมในการประกอบธุรกิจหรือไม่?


                   ตามสื่อหนังสือพิมพ์ ข่าวดังข่าวใหญ่อีกข่าวหนึ่งนั้นคือ ข่าวบริษัทสหฟาร์ม ยักษ์ใหญ่ด้านการส่งออกไก่อันดับ 2 ของประเทศประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ จนธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จี้ฟื้นฟู
                   เท่าที่ติดตามอ่านข่าวสารมีการนำเสนอว่าที่สหฟาร์มมีสภาพเป็นอย่างนี้เป็นเพราะการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าเงินบาทแข็งตัว และนโยบายเพิ่มค่าแรง 300 บาท ซึ่งบริษัทสหฟาร์มมีคนงานไม่ต่ำกว่า 5,000 คน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่รัฐบาลคุยว่าจะบริหารให้เติบโต 5% แต่โตจริงแค่ 3% ซึ่งมีปัจจัยภายนอกนั้นคือเศรษฐกิจโลกก็มีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
                   แต่จากการค้นข้อมูลของผู้เขียนพบว่าปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทสหฟาร์มส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี 2555 โดยผู้ส่งสัญญาณมาจากเกษตรผู้เป็นคอนแทรค ฟาร์มมิ่ง นั้นคือรับเลี้ยงไก่ให้บริษัท ซึ่งได้โพสต์ในเวบไซต์pantip  เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2555 โดยพยายามจะส่งสารไปยังประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทว่าเมื่อไหร่จะโอนเงินค่าเลี้ยงไก่ให้ (รายละเอียดเพิ่มเติมhttp://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2012/09/B12690619/B12690619.html)
      จะว่าไปแล้วปัจจัยที่ทำให้สหฟาร์มต้องลอยแพคนงานไม่ต่ำกว่า 5,000 คน ต้องให้ธนาคารเข้าฟื้นฟูกิจการนั้นเป็นเพราะ

           1. บริษัทขยายงานเกินตัว นั้นคือบริษัทตั้งเป้าสูงเกินไปโดยคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจโลกผิดพลาด โดยเฉพาะคู่ค้าที่สำคัญคือจีน ที่ไม่ได้เติบโตหวือหวาเพราะรัฐบาลจีนไม่ต้องการให้เศรษฐกิจเติบโตมากนักเลยให้ชะลอตัวไว้ หลักฐานที่ว่าบริษัทขยายงานเกินตัวเช่น ไปเปิดโรงงานที่เชียงรายหวังว่าจีนคือลูกค้ารายใหญ่ (รายละเอียด http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=184820.0)
           2. วัตถุดิบอาหารสัตว์ถีบตัวสูงขึ้น นั้นคือต้นทุนเพิ่มขึ้น ถึงแม้บริษัทสหฟาร์มจะทำธุรกิจครบวงจร แต่ส่วนหนึ่งต้องซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรโดยเฉพาะวัตถุดิบข้าวโพด มีตั้งแต่ 50-100 ล้านบาท          
          3. จากการขยายงานทำให้ต้องสั่งซื้อพันธุ์ไก่จากต่างประเทศทำให้ติดหนี้ค่าพันธุ์ไก่บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ มูลค่าประมาณเฉียด 100 ล้านบาท     
         4. นโยบายค่าเงินบาท ซึ่งรัฐบาลกว่าจะแก้ไขการแข็งค่าของเงินบาทได้ มีการโยนกันไปโยนกันมา
         5. นโยบายค่าแรง 300 บาท (โดยส่วนตัวปัญหานี้น่าจะจัดการได้ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ได้รับรู้วิธีการแก้ไขปัญหาค่าแรง 300 บาทของบริษัทหนึ่งเค่าจะจ่าย 300 บาทจริง แต่จะจ่ายเฉพาะวันทำงาน ถ้าวันหยุดไม่ได้เงิน )
         6. ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนทางเศรษฐกิจ
         7. ผลจากการขยายงานเกินตัวทำให้ต้องกู้ธนาคารมาลงทุน ขณะเดียวกันกำไรที่เคยสะสมมานำไปลงทุนด้านที่ดิน
           สรุปแล้ว ถ้าดูปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่ามันเริ่มอาการมาตั้งแต่กันยายน 2555 มาแสดงอาการระยะสุดท้ายเมื่อกรกฎาคม 2556 เกือบหนึ่งปี ผู้บริหารบริษัททำอะไรอยู่หรือจงใจให้คนงานไม่ต่ำกว่า 4,000 คน เผชิญชะตากรรมที่จะต้องตกงานเซ่นกับเป้าที่จะเป็นผู้ส่งออกไก่อันดับ 1 ของประเทศ เชือดไก่ให้ได้ 1 ล้านตัวต่อวัน โดยกู้เงินมาดำเนินงานตามเป้าหมาย ส่วนกำไรนำไปซื้อขายที่ดิน ถ้าไม่เจ๊งก็ไม่รู้จะว่ายังไง หรือว่าเจ๊งก็ไม่เดือนร้อนเพราะมีธนาคารคอยอุ้มอยู่ประหนึ่งเบาะนุ่มๆไว้รองรับ ตัวคณะบริหารสบายแต่คนงานต้องตกงาน อย่างนี้ผิดจริยธรรมในการประกอบธุรกิจหรือเปล่า?

    ทิ้งท้ายบ้านของผู้บริหารที่ใหญ่โตราวกับวัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น