ด้วยความสนใจในข่าวนี้กลับมาถึงที่ทำงานลองค้นข้อมูลในเวบไซด์ google ดูว่ามีมหาวิทยาลัยไหนบ้างที่อธิการบดีถูกขับไล่ให้ไปพ้นๆบ้าง พบว่ามีมหาวิทยาลัยหลายมหาวิทยาลัยที่โดนขับไล่ ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้
มีคำถามและคำตอบเกิดขึ้นในใจว่า
1. อธิการบดี ทำไมต้องโดนขับไล่ เท่า ที่ประมวลข่าวส่วนใหญ่ที่โดนขับไล่เพราะคนที่ขับไล่ เชื่อว่าอธิการบดีทุจริตในหน้าที่ และในกรณีของมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ชี้มูลความผิดแล้ว
2. เมื่อมีการขับไล่อธิการบดี แล้วมีผลในทางปฏิบัติไหม ซึ่งหมายถึงโดนขับไล่แล้วลาออกไหม ใครมีสิทธิ์ปลดอธิการบดีออกจากตำแหน่ง จากการค้นข้อมูลพบว่ามีการปลดอธิการบดีไปแล้ว 5 มหาวิทยาลัย และผู้มีอำนาจปลดคือกรรมการสภามหาวิทยาลัย (http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000145339)
ตำแหน่งอธิการบดี ได้มาอย่างไร มีฐานะเทียบเท่ากับตำแหน่งใดในระบบราชการ การ ได้มาซึ่งตำแหน่งอธิการบดีนั้นโดยหลักแล้วก่อนที่ตำแหน่งอธิการบดีว่างลง บางมหาวิทยาลัยอาจกำหนดเวลาไว้ที่ 90 วัน ต้องสรรหาอธิการบดีให้แล้วเสร็จ นั้นหมายความว่าอธิการคนปัจจุบันหมดวาระลงก็มีคนใหม่มาทำงานต่อได้เลย ขั้นตอนหลักๆมีดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา
2. คณะกรรมการสรรหาจัดทำกำหนดการ ประกาศให้ผู้สนใจมาสมัครเพื่อรับการคัดสรร 3. ผู้สมัครที่ตนคิดว่ามีคุณสมบัติยื่นใบสมัครต่อคณะกรรมการสรรหา นอกจากจะเปิดรับสมัครแล้ว มีแบบฟอร์มเพื่อให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้ที่ตนคิดว่าเหมาะสมเป็น อธิการบดี
4. คณะกรรมการสรรหาจะพิจารณากลั่นกรอง ซึ่งจะพิจารณาทั้งคุณสมบัติ และให้ผู้สมัครเสนอนโยบาย แผนพัฒนามหาวิทยาลัย หรือเรียกว่าโชว์วิสัยทัศน์ ทั้งนี้ต้องกลั่นกรองให้ได้รายชื่ออย่างน้อย 3 คน
5. คณะกรรมการสรรหาลงมติ และผู้ที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี
6. ดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี
ทั้ง นี้ทั้งนั้นการได้มาซึ่งตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยแต่ละมหาวิทยาลัยมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี เองได้ ฉะนั้นขั้นตอนอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยจากที่กล่าวไว้ก็ได้
ตำแหน่งอธิการบดีจะว่าไปแล้วถ้าเทียบตำแหน่งทางราชการจะเทียบเท่าอธิบดี ฉะนั้นมหาวิทยาลัยมีฐานะเทียบเท่ากรม แต่ตำแหน่งอธิการบดีไม่ได้ไต่เต้าขึ้นมาเหมือนอธิการแต่มีการสรรหา วาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ดำรงตำแหน่งติดต่อกันห้ามเกิน 2 วาระ
ประเด็น ที่น่าสนใจคือ ผู้ที่สมัครเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการนั้นมีการกำหนดคุณสมบัติอะไรบ้าง มีการกำหนดข้อห้ามอะไรไหม ถ้าเราดูคุณสมบัติของผู้สมัครสอบรับราชการจะมีหลายข้อเช่น
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครอบระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
5. ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
6. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกไล่ออกจากราชการไว้ก่อน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
7. ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
8. ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
9. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
10. ไม่เป็นผู้ต้องเคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความ ผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
11. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
12. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
13. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
14. ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ซึ่งขาดคุณสมบัติ ตาม (7) (9) (10) หรือ (14) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (11) หรือ (12) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้วหรือผู้ที่ขาด คุณสมบัติตาม (13) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อ หน้าที่ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.พ. ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ ต้องได้คะแนนเสียงสี่ในห้าของจำนวนกรรมการในที่ประชุม การลงมติให้กระทำโดยการลับ
การ ขอยกเว้นและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคหนึ่งตลอด เวลาที่รับราชการเว้นแต่คุณสมบัติตาม (6) หรือได้รับยกเว้นในกรณีขาดคุณสมบัติตามวรรคสอง
ผู้ เขียนกำลังตั้งข้อสังเกตว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีข่าวขับไล่อธิการเนื่องจากเห็นว่าอธิการมี คุณสมบัติไม่เหมาะสม โดนชี้มูลความผิดจากการทุจริตนั้น ทำไมก่อนการสรรหาหรือก่อนที่จะได้อธิการมานั้น มีการกลั่นกรองคุณสมบัติหรือไม่ หรือข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาอธิการบดีได้ระบุไว้หรือไม่ว่า ถ้ามีการชี้มูลความผิด ไม่สามารถสมัครชิงตำแหน่งอธิการได้
ภาพจากเดลินิวส์ออนไลน์
จากการค้นข้อมูลพบว่าข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี ข้อ 4 ระบุว่าผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี จะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเกณฑ์ท้ายตามข้อบังคับนี้(http://www.meeting.msu.ac.th/meeting_2556/file/documents_51/doc_rules/k_atikan38.pdf) ซึ่งเมื่อ อ่านแล้วพบว่าเกณฑ์ทางด้านบุคลิกภาพ มี 2 ข้อที่ไม่น่านำชื่ออธิการที่โดนขับไล่เข้าสู่ระบบการสรรหา นั้นคือ ต้องมีประวัติดีงาม ทั้งในด้านการงานและส่วนตัว มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อาจารย์ นิสิต ประชาชน (แต่ขณะเข้ารับการสรรหาถูกชี้มูลความผิดจากสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน)
และอีกข้อเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคมมหาวิทยาลัย มีมนุษยสัมพันธ์ดีกับบุคคลทุกระดับทุกประเภท(แต่ขณะเข้ารับการสรรหาถูกต่อต้าน คัดค้านจากสังคมในมหาวิทยาลัย(บางส่วน))
สรุป แล้วทำไมกรรมการสภามหาวิทยาลัยถึงปล่อยให้บุคคลที่ไม่มีความเหมาะสม มีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม หลุดเข้าสู่ระบบการสรรหาจนได้รับตำแหน่งอธิการบดี (ใน ความเห็นส่วนตัว คิดว่ากรรมการสภามองว่าคดีนี้ยังไม่สิ้นสุด เพียงแค่ถูกชี้มูลความผิด จึงถือว่าบุคคลท่านนี้บริสุทธิ์ มีสิทธิที่จะได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี)
บท สรุปปัญหานี้เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หรือมุมมองที่แตกต่างกัน จนก่อให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมา นั้นคือ ฝ่ายที่ขับไล่นั้นมองว่าแค่ถูกชี้มูลความผิด ก็ไม่สง่างาม มีมลทิน ไม่สมควรที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี และฝ่ายสรรหามีมุมมองว่าคดียังไม่ถึงที่สุด อยู่ระหว่างการต่อสู้คดี แค่ชี้มูลความผิด ถือว่าบริสุทธิ์ มีสิทธิในการดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้ ฉะนั้นไม่น่าแปลกที่ยื่นหนังสือให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยลาออกยกชุด เพื่อแสดงความรับผิดชอบที่สรรหาคนไม่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งอธิการบดี
ส่วนเกิดอะไรขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาไทยนั้น ผมมองว่าการบริหารมหาวิทยาลัยเป็นการเมืองไปแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น