ชีวิตเมื่อกำเนิดขึ้นย่อมมีการเดินทาง ทำไมเราไม่บันทึกเรื่องราวที่เราอยากนำเสนอ
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
งบประมาณของแผ่นดิน
(ที่มาของภาพ http://thaipublica.org/wp-content/uploads/2012/07/sapa.jpg)
ช่วงนี้รัฐบาลกำลังพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 ทำให้นึกถึงสมัยยังเป็นนักศึกษาเรียนวิชาการคลังและงบประมาณ ก่อนจะสอบพยายามท่องทั้งวงจรงบประมาณ ปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดงบประมาณ สูตรในการจัดทำงบประมาณ
บทความนี้จึงอยากจะเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับงบประมาณเพื่อประดับความรู้ เริ่มจาก
1. งบประมาณคืออะไร ถ้าตอบแบบง่ายๆ ก็คือแผนการใช้เงิน ซึ่งจะบอกถึงรายรับ หรือตัวเงินว่ามีเงินเท่าไหร่ที่จะต้องใช้ ซึ่งงบประมาณในปี 2557 จำนวนเงินที่จะนำมาใช้ประมาณ 2,525,000,000 ล้านบาท เงินจำนวนนี้นำไปใช้อย่างไร
2. ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ มีความหมายว่า ให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ของปีหนึ่งถึงวันที่ 30 ก.ย.ของปีถัดไป และใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปเป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น เพราะฉะนั้นปีงบประมาณที่กำลังพิจารณากันอยู่นี้เรียกว่างบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 เริ่มใช้วันที่ 1 ต.ค. 2556 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2557
3. ประเภทของงบประมาณ เป็นสิ่งที่รัฐบาลนำมาใช้ในการจัดการงบประมาณ โดยมี 3 สูตร ด้งนี้
- สมดุล นั้นคือ รายรับ = รายจ่าย ง่ายๆ มีเงิน 10 บาท ใช้ 10 บาท
- เกินดุล นั้นคือ รายรับ > รายจ่าย ง่ายๆ มีเงิน 10 ใช้ 8 บาท ประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็เคยมีรัฐบาลใช้งบประมาณประเภทนี้ เช่น สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน การใช้สูตรงบประมาณแบบเกินดุลได้นั้นเศรษฐกิจจะต้องดีมากๆ บ่งชี้ถึงความมั่นคงทางการเงินการคลังของประเทศ
- ขาดดุล นั้นคือ รายรับ < รายจ่าย ง่ายๆ มีเงิน 10 บาท ใช้ 15 บาท ถ้ามองที่ระดับบุคคลหรือตัวเรา ถ้าใช้จ่ายแบบนี้มีหวังจนตาย ซึ่งงบประมาณปี 2557 ใช้ประเภทนี้ ซึ่งถ้าดูตัวเลขเงินที่สามารถนำมาใช้ได้จำนวน 2,275,000 ล้านบาท แต่ครม.ได้ตั้งงบประมาณไว้เป็นจำนวนไม่เกิน 2,525,000,000,000 บาท ถ้านำรายได้มาลบรายจ่าย จะเห็นว่าใช้จ่ายเกินตัวมหาศาล นั้นคือต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้
4. บางคนสงสัยว่าทำไมงบประมาณรายจ่ายต้องเข้าสภาให้ถกเถียงกัน ซึ่งขั้นตอนในการพิจารณางบประมาณนั้นมี 3 วาระ ดังนี้
- วาระที่ 1 เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ง่ายๆคือ แผนการใช้เงินฉบับนี้จะรับไว้พิจารณาในวาระต่อไปหรือไม่
- วาระที่ 2 เป็นการพิจารณาในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติโดยคณะะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา ง่ายๆคือ ให้พิจารณารายละเอียดการใช้เงิน ซึ่งจะต้องมีการถกกันว่าสมควรจะให้ใช้เงินได้เท่าที่เสนอมาหรือไม่ ในขั้นตอนนี้สามารถเพิ่ม ลด ตัด จำนวนเงินได้ ทั้งนี้ต้องผ่านการลงมติ
- วาระที่ 3 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ 3 นี้จะไม่มีการอภิปราย และให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกรณีที่สภาลงมติไม่ให้ความ เห็นชอบ ให้ประธานสภาดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาต่อไป
ร่างที่ผ่านด่านทั้งสามมาได้ใช่ว่าจะประกาศใช้ได้ต้องผ่านด่านของวุฒิสภา ซึ่งมี 3 วาระเช่นกัน ถ้าผ่านด่านนี้ไปใด้กระบวนการต่อไปคือ พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งร่างงบประมาณนี่้ให้พระราชอำนาจกับพระมหากษัตริย์ที่จะไม่ทรงเห็นชอบได้ด้วย
บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้มีการจัดทำงบประมาณขาดดุลมหาศาล ถ้าเปรียบกับบุคคลแล้วก็ประเภทใช้จ่ายเกินตัว ซึ่งอันตรายเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ทั้งนักวิชาการทั้งสื่อมวลชนว่าเป็นการถอนทุนคือ (http://www.thairath.co.th/column/tech/socialmediathink/347964)
ป้ายกำกับ:
การคลัง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น