จากการติดตามข่าว มีแนวโน้มพอสรุปได้ ณ เวลานี้ ดังต่อไปนี้
1. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติให้มหาวิทยาลัยและสถาบันที่เป็นสมาชิก จำนวน 27 แห่ง (ส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยที่เดิมเคยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย)...
เปิดปีการศึกษา ภาคเรียที่ 1 วันที่ 15 เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม (โดยประมาณ)
ภาคเรียนที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม (โดยประมาณ)
ปิดภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน - วันที่ 14 เดือนสิงหาคม (โดยประมาณ)
ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557
2. ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) มีมติให้มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก
เปิดปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 วันที่ 11 เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม (โดยประมาณ)
ภาคเรียนที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม (โดยประมาณ)
ปิดภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน - วันที่ 10 เดือนสิงหาคม (โดยประมาณ)
ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557
3. มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยสงฆ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีแนวโน้มที่จะเปิดปิด ตาม มติ ทปอ. (มหาวิทยาลัย 27 แห่ง) ตามข้อ 1
4. โรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
เปิดปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 วันที่ 10 เดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน (โดยประมาณ)
ภาคเรียนที่ 2 เดือนธันวาคม - เดือนเมษายน (โดยประมาณ)
ปิดภาคฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม - วันที่ 9 เดือนมิถุนายน (โดยประมาณ)
ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557
5. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มีแนวโน้มจะเปิดปิด พร้อม สพฐ.ตาม ข้อ 3
6. สถาบันการศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะเปิดปิด พร้อม สพฐ. ตามข้อ 3
ถ้าเป็นไปตามนี้ มีผลดังนี้
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ลงมา สิ้นปีการศึกษา 2556 จะมีช่วงวันหยุด ระหว่าง เดือนเมษายน 2557 - วันที่ 9 มิถุนายน 2557 รวมประมาณ 2 เดือนครึ่ง นับแต่สิ้นปีการศึกษ 2557 เป็นต้นไป จะมีช่วงวันหยุด รวมประมาณ 1 เดือนครึ่ง
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า สิ้นปีการศึกษา 2556 จะมีช่วงวันหยุด ระหว่าง เดือนเมษายน 2557 - วันที่ 14 เดือนสิงหาคม 2557 รวมประมาณ 4 เดือนครึ่ง นับแต่สิ้นปีการศึกษ 2557 เป็นต้นไป จะมีช่วงวันหยุด รวมประมาณ 2 เดือนครึ่ง
3) ปีการศึกษ 2557 เป็นต้นไป ในช่วงเดือนเมษายน (อากาศร้อน เทศกาลสงกรานต์ วันครอบครัว และฤดูการท่องเที่ยว) จะมีการเรียนการสอนและสอบปลายปี และเดือนตุลาคม (ช่วงที่มีสถิติน้ำท่วมสูงในหลายจังหวัด) ก็จะมีการเรียนการสอนและสอบปลายภาค ด้วย
4) การเปิดปิดมีความสอดคล้องกับนานาชาติและบางประเทศในอาเซียน สำหรับระดับอุดมศึกษาเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปมาในการเรียนต่อระหว่างประเทศ ได้ ส่วนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขณะท่่ีประเทศไทย เปิดปิดตามเดิมหรือเปิดปิดใหม่ ตามนี้ ก็ไม่มีความสอดคล้องกันกับนานาชาติหรือประเทศไนอาเซียนแต่อย่างใด โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน มีการเปิดปิดแตกต่างกันไปเป็น 3-4 กลุ่ม ปละยังไม่มีการตกลงร่วมกัน
5) การเปิดปิดที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างสถานศึกษาระดับอุดมศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาจจะทำให้เกิดปัญหาการส่งนิสิตนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติการสอน ซึ่งสถาบันผลิตครูจะต้องหารือคุรุสภา เพื่อแก้ปัญหาได้ไม่ยากนัก
ทั้งนี้ ความเห็นส่วนตัว
1) เห็นด้วยกับการเปิดปิดของสถาบันระดับอุดมศึกษา
2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีการทบทวน และเห็นด้วยที่ สพฐ. จะพิจารณาทบทวน
3) ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมมีการเจรจาตกลงร่วมกันระหว่างประเทศในอาเซียนก่อน
เนื่องจาก ระดับอุดมศึกษา จำนวนสถานศึกษาและผู้เรียนไม่มากนัก (ประมาณร้อยละ 20 ของวัยเรียน) มีทำเลที่ตั้งดีและโดยธรรมชาติปฏิ บัติงานตลอดปี ส่วนระด้บการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผู้เรียนกว่าสิบล้านคน คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 มีสถานศึกษากว่า 40,000 แห่ง มีความหลากหลายในทำเลที่ตั้ง มีผลกระทบสูง ไม่ตอบโจทย์อาเซียน
ข้อมูลจาก
ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ
คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยรชภัฏมหาสารคาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น