วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คนไทยตื่นเต้นเฉพาะนักกีฬาได้แชมป์โลกเท่านั้นหรือ?



         ใน รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากข่าวการเมืองที่ร้อนระอุและกำลังจะหายร้อนไปกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร มีการประกาศยกเลิกการใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง แต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ยังไม่สลายตัวไปทีเดียว ยังมีการชุมนุมอยู่เนื่องจากได้เสบียงจากกองทัพธรรม จึงพยายามรักษาเชื้อไฟไม่ให้ดับมอด รอให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสภาอีก เมื่อนั้นคงเป่านกหวีดเรียกกำลังพลอีกรอบ แต่ไม่รู้ว่าจะเป่าจนคอแห้งคนก็ยังไม่มาหรือเปล่า
        ยังดีมีข่าวเกี่ยวกับแวดวงกีฬาที่สร้างความสุขให้กับคนไทย นั้นคือ น้องเมย์ - รัชนก อินทนนท์ คว้าแชมป์โลกแบดมินตัน ในการชิงแชมป์โลก 2013 ที่กว่างโจว ประเทศจีน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 สค. ที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รุมเกาะกระแสความดังทั้งมอบของขวัญ ของกำนัล เงิน ฯลฯ
               เหตุการณ์แบบนี้จำได้ว่าเคยเกิดขึ้นหลายครั้ง และก็เงียบหายไปกับสายลม ยกตัวเช่น
        - สมรักษ์ คำสิงห์  ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 26 ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ยังจำกันได้ไหมหลังจากกลับประเทศมีการประโคมข่าว มีการมอบรางวัล เงิน มากมาย จนขนาดได้แสดงละคร เรื่องนายขนมต้ม ส่วนอายุในการเข้าวงการหมัดมวยนั้นเริ่มเมื่ออายุ 7 ขวบ โดยมีพ่อเป็นนักมวยคอยสอน
      - วิจารณ์ พลฤทธิ์ ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในโอลิมปิกที่ซิดนีย์ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เช่นกันครับ ยังจำได้ไหมเมื่อกลับประเทศก็ไม่ต่างจากสมรักษ์ คำสิงห์ อายุในการเข้าวงการหมัดมวยนั้นเริ่มเมื่ออายุ 10 ขวบ
      ในวงการมวยนอกจากนี้ยังมีสมจิตร จงจอหอ เหรียญทองโอลิมปิก พ.ศ. 2551 ประเทศจีน, มนัส บุญจำนงค์ จากการแข่งขันโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ ,อาคม เฉ่งไล่ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง แข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่บาร์เซโลน่าประเทศสเปน
   นอก จากวงการหมัดมวยที่ไทยเรามีความหวังเหรียญรางวัลเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ยัง มีกีฬาที่เราไม่ได้คาดหวังจะได้เหรียญรางวัลระดับเหรียญทองนั้นคือกีฬายก น้ำหนัก ซึ่งมีนักกีฬาที่ได้ดังนี้
-      อุดมพร พลศักดิ์ เหรียญทองโอลิมปิก จากการแข่งขันโอลิมปิก ปี 2004 ที่กรุงเอเธนส์
-      ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล เหรียญทอง ในการแข่งขันโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง
-      ปวีณา ทองสุก เหรียญทองจากโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ

    นี้คือรางวัลระดับโลกที่นักกีฬาทำได้ของกีฬาสมัครเล่น ซึ่งเมื่อได้รับรางวัลแล้วก็ไม่ต่างจากน้องเมย์ - รัชนก อินทนนท์ ณ ตอนนี้ ที่มีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง มีคนชื่นชม มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้เงินรางวัล ของขวัญ ของกำนัลฯลฯ
      แล้ว ในแวดวงกีฬาอาชีพ มีใครบ้างหนอที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครองที่อยากให้ลูกเป็นอย่างนั้นบ้างถึง ขนาดส่งเสริมให้เล่นกีฬา จนช่วงหนึ่งสนามแทบจะไม่มีให้เล่น อุปกรณ์กีฬาชนิดนั้นถึงกับขาดตลาดเพราะขายดีมาก แต่พอนักกีฬาไม่มีชื่อเสียงแล้ว สนามแทบจะปล่อยร้าง  จากการค้นข้อมูลจะนำเสนอเฉพาะคนดังบางคนเช่น
-      "ไทยทอร์นาโด" ต๋อง ศิษย์ฉ่อย หรือ รัชพล ภู่โอบอ้อม อดีตนักสนุกเกอร์มือ 3 ของโลก นักกีฬาอาชีพผู้นี้ทำให้วงการกีฬาสนุกเกอร์ถูกปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่จากมุม มองที่ว่าเป็นกีฬาของนักเลง อันธพาล มาเป็นกีฬาที่มีเกียรติและสร้างชื่อเสียงได้ สิ่งที่น่าสนใจคือเส้นทางเดินของนักกีฬาอาชีพผู้นี้ก็เข้าสู่วงการกีฬาชนิด นี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากพ่อเป็นนักสนุกเกอร์ แต่เส้นทางกว่าจะเป็นมือ 3 ของโลกนั้นยากยิ่ง ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ แต่มาจากชาวต่างชาติหัวใจไทย (ใครอยากอ่านรายละเอียดคลิ๊กครับhttp://www.cuethong.com/cuethong_article_detail.php?id=4&p=3) ในความทรงจำของผู้เขียนยอมรับว่าจำไม่ได้ว่าขณะนั้นต๋องได้รับรางวัลต่างๆมากมายเหมือน น้องเมย์ - รัชนก อินทนนท์ ณ ตอนนี้หรือไม่ แต่ยังจำได้ว่าเขาคือผู้มีชื่อเสียง และตอนนี้วงการสนุกเกอร์ไม่คึกคักเหมือนสมัย ต๋องดังแน่ๆ
-      ภราดร ศรีชาพันธุ์  อดีตนักเทนนิสมือวางอันดับ 9 ของโลก ความทรงจำของผู้เขียนจำได้ว่าไม่ได้รับรางวัลมากมายเหมือนน้องเมย์ - รัชนก อินทนนท์ ผู้ เขียนคิดว่าคงไม่ได้เป็นมือ 1 ของโลกจึงไม่มีเงินอัดฉีดมากมายแต่อย่างไรภรดรก็มีชื่อเสียง และที่สำคัญมีนางงามจักรวาลมาเป็นคู่ชีวิต และยังทำให้มีการแข่งขันเทนนิสในไทยนั้นคือรายการการแข่งขันเทนนิส พีทีที ไทยแลนด์ โอเพน ทำให้วงการเทนนิสคึกคัก เพราะมีนักเทนนิสระโลกมาแข่งด้วย ภราดรนี้เริ่มเข้าวงการตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เพราะพ่อก็สนใจกีฬาเทนนิสและเล่นเทนนิสเป็นงานอดิเรก
     แต่ก็น่าแปลกในวงการแบดมินตันเองล่าสุดที่มีการจัดอันดับโลกนักแบดมินตันของไทยอย่างบุญศักดิ์ พลสนะ ที่เป็นมือวางอันดับ 4 ของโลก ชื่อเสียงก็ยังไม่ดังเท่าสมัยภราดร ศรีชาพันธุ์ อดีตนักเทนนิสมือวางอันดับ 9ของ โลก นอกจากนี้ยังมีนักเทนนิสหลายคนทั้งหญิงและชายที่เป็นมือวางอันดับต้นๆของโลก แต่ก็ถูกชื่อเสียงของรัชนก บดบังจนแทบไม่มีใครกล่าวถึง
      นอก จากกีฬาแบดมินตันแล้ว ก็ยังกีฬากอล์ฟ ที่นักกีฬาไทยสร้างชื่อเสียงเหมือนกัน เช่นโปรช้าง ธงชัยใจดี มือวางอันดับ 54 ของโลก มือวางอันดับ 1 ของเอเชียซึ่งตามประวัติประหยัด เล่นกีฬาตั้งแต่อายุ 16 ปี
,ประหยัด มากแสง มือวางอันดับ 74 ของโลก มือ วางอันดับ 1 ของเอเชีย ซึ่งตามประวัติประหยัด เล่นกีฬาตั้งแต่อายุ 14 ปี
                  จากทั้งหมดทั้งมวลที่ร่ายยาวมานี้มีข้อสังเกตคือ
                 - นักกีฬาที่มีสำเร็จในเวทีโลก ส่วนมากเล่นกีฬามาตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างเช่น ต๋อง ภราดร  สมรักษ์ แม้แต่น้องเมย์เองก็ใช่ โดยเข้าสู่วงการตั้งแต่ 5 ขวบ
               - นัก กีฬาที่สำเร็จส่วนใหญ่ ถ้าได้ศึกษาประวัติ เส้นทางการดำเนินชีวิตจะซ้อมหนักมาก และที่สำคัญที่น่ายกย่องและชมเชยเป็นอย่างยิ่งคือ สำเร็จภายใต้ภาวะความขาดแคลน ภาครัฐไม่สนใจที่ส่งเสริม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนกรณีของรัชพล ภู่โอบอ้อม หรือแม้แต่รัชนกเองก็ใช่ ฉะนั้น เวลานักกีฬาเหล่านี้ประสบความสำเร็จ ก็จะแห่แหนชื่นชมยินดี เรียกว่าเกาะกระแสความดัง ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ทำไมไม่สนใจกัน ภาครัฐเองตอนนี้ก็มีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีโรงเรียนกีฬาซึ่งปั้นเยาวชนให้เป็นนักกีฬาตั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ ฉะนั้นน่าจะเริ่มต้นคิดนโยบายหรือโครงการสร้างนักกีฬาไปสู่ระดับโลกได้แล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม แต่พอเวลาเค้าสำเร็จกลับไปเสนอหน้ามอบรางวัลต่างๆให้ ถามว่าทำแบบนี้ดีไหม ก็ต้องตอบว่าดีเพราะจะได้เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กๆเจริญรอยตาม แต่เส้นทางในการเดินทางถ้าปล่อยเป็นไปตามยถากรรมแล้วมันจะไปได้สักกี่น้ำ
ท้าย สุด อยากนำเสนอภาพการสร้างนักกีฬาสู่ระดับโลกของจีน ถึงแม้จะดูโหดไปหน่อยเพราะจับฝึกตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น ทั้งฝึกทั้งร้องไห้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือจีนมีนักกีฬาระดับโลกมากมาย




ภาพจาก http://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=12249
หรืออยากเห็นเป็นภาพวีดีโอ คลิ๊กตามลิงค์นี้ครับ http://news.voicetv.co.th/sport/46441.html

  ก็หวังว่าภาครัฐคงจะมีโครงการเพื่อแก้ไขปัญหานักกีฬาขาดการสนับสนุน มิใช่ปล่อยให้นักกีฬาสร้างความสำเร็จตามยถากรรม เมื่อนักกีฬาประสบความสำเร็จจึงกระเหี่ยนกระหือรือมอบเงิน ชื่อเสียง หรือเกาะกระแสความดังซึ่งรู้สึกว่ามันง่ายไปไหม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น