วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สภาประชาชน?

          พักยกไปแล้วสำหรับการชุมนุมทางการเมืองอันเนื่องมาจากวันที่ 5 เป็นวันเฉลิมพระพรรษา ของในหลวงอันมีสถานะเป็นประมุขของรัฐ ทำให้บรรยากาศรวมทั้งอารมณ์ของผู้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองหายเครียดได้บ้าง
          ก็เป็นอันทราบผลแล้วว่า การเร่งเผด็จศึกของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้นไม่สำเร็จ แต่เท่าที่ติดตามข่าวสารข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ เพียงแต่พักยกเท่านั้น
                ผู้เขียนมาดูข้อเรียกร้องที่บอกว่าจะตั้งสภาประชาชน ซึ่งมีนักวิชาการออกมาพูดเรื่องนี้พอสมควรโดยชี้ประเด็นว่าสภาประชาชนมาจากไหน ใครเป็นตั้ง และเลยเถิดไปถึงการตั้งสภาคนดี
ประเด็นเรื่องการตั้งสภาประชาชนผู้เขียนขอถามว่าที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้ใช่สภาประชาชนไหม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บรรดาจำนวน ส.ส. ส.ว. ที่มีอยู่ ณ ตอนนี้ใช่สภาประชาชนไหม ถ้าไม่ใช่แล้วเรียกว่าอะไร แล้วที่ใช่ควรเป็นแบบไหน ซึ่งคุณสุเทพก็ไม่ได้ชี้แจงแถลงไขไว้
              หรือว่าสภาประชาชนคือทุกคนมีสิทธิเป็น ส.ส. ส.ว. มีสิทธิเข้าไปนั่งในสภา เพื่อร่วมกันร่างกฎหมายและกำหนดนโยบายของรัฐ ถ้าใช่ตามนี้จะมีสถานที่ใหญ่โตพอที่จะให้คน 60 กว่าล้านคนนั่งประชุมกันไหมครับ เวลาพูดจะใช้เครื่องขยายเสียงกี่วัตน์ถึงจะได้ยินกันทั่วถึง
ถ้าไม่ใช่ที่ให้คน 60 กว่าล้านคน แต่คัดเฉพาะคนนี้มานั่งในสภา ถ้ามองแบบสภาพความเป็นจริง คุณก็ลำเอียง ไม่ต่างไปจากเผด็จการ เพราะไม่มีมนุษย์หน้าไหนดี 100% แล้ว 100% มันเป็นจำกัดสิทธิเสรีภาพของคน แล้วใครจะยอม
                เรื่องสภาประชาชนมีมาแล้วเป็นพันปีในยุกกรีกโบราณสมัยนครรัฐเอเธนส์ (Athens) เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมและวัฒนธรรมกรีก แต่ก็ให้สิทธิเฉพาะผู้ชายทุกคนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ต้องทำหน้าที่ในสภา (Assembly) เพื่อร่วมกันร่างกฎหมายและกำหนดนโยบายของรัฐ
           จะว่าไปแล้วข้อเสนอของคนสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้เขียนมีความรู้สึกเป็นข้อเรียกร้องที่เป็นนามธรรม เลื่อนลอย เพ้อเจ้อ ปฏิบัติได้ยาก ซึ่งบทสรุปสุดท้ายผู้เขียนเชื่อแน่ว่าคุณสุเทพ ต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล มิใช่ฝ่ายค้าน นี้คือวัตถุประสงค์หลัก ภายใต้ข้อเรียกร้องที่เพ้อเจ้อ

แรงเกินไปไหมกับข้อกบฎที่ยัดเยียดให้คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ

         ณ ปัจจุบันนี้การเมืองของไทยร้อนระอุ ซึ่งไม่ควรจะเป็นอย่างยิ่งในสัปดาห์นี้ บรรยากาศที่ควรจะเป็นนั้นควรอยู่ในช่วงเตรียมตัวเฉลิมฉลองเนื่องในวันพ่อ
      แกนนำอย่างคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้นมีการยัดเยียดข้อหาพร้อมมีหมายจับข้อหากบฎ ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยกับนักวิชาการบางท่านที่ออกมาแสดงความเห็นว่าตั้งข้อหารุนแรงเกินไป  งั้นเรามาดูตัวบทกฎหมายกันดีกว่าครับ
                                   ประมวลกฎหมายอาญา 
               หมวด 2 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร
มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
      (1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
      (2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
      (3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร

           กรณีของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่นักวิชาการบางท่านออกมาพูดว่าตั้งข้อหารุนแรงเกินไป ถ้าตีความก็หมายความว่าการกระทำของคุณสุเทพไม่ถึงกับมีความผิดฐานกบฎ
            ถ้าดูการเรียกร้องของคุณสุเทพ ข้อที่ 1 ไม่ได้ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ข้อที่ 2 ก็ไม่ใช่เพราะเห็นว่าถึงแม้นายกฯจะยุบสภาแกก็ไม่ยอม ส่วนข้อ 3 แกก็ไม่ได้แบ่งแยกราชอาณาจักร
ฉะนั้นข้อคงมีการตีความว่าการกระทำน่าจะเข้าข้อที่ 3 ซึ่งคงมาจากที่แกบอกว่าจะตั้งสภาประชาชน การตั้งสภาประชาชนคงจะหมายถึงล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร ส่วนหนึ่งข้อเรียกร้องหนึ่งของแกคือล้างระบอบทักษิณ ผมฟันธงว่าแกตายและเกิดอีกสิบชาติ ก็ล้างไม่ได้หรอก เพราะระบอบทักษิณเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ แม้ตัวทักษิณเอง ก็ยังจับไม่ได้ มิหนำซ้ำยังมีนายตำรวจใหญ่ รัฐมนตรี ส.ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน แห่แหนไปเยี่ยมเยียนอีกต่างหาก

           สรุปแล้วผู้เขียนเห็นว่าการกระทำของคุณสุเทพน่าจะเข้ามาตรา 116 และมาตรา117 มีข้อความดังนี้

         มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
       (1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
       (2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
        (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี


          มาตรา 117 ผู้ใดยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน การร่วม กันปิดงานงดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจ กับบุคคลใด ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อ บังคับรัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าวและเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการ ร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้า ขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้หวาดกลัวด้วยประการใด ๆ เพื่อ ให้บุคคลเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิด งานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับ บุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผลพวงจากการจะเข้าสู่AECทำให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงการเปิดเทอม

ช่วง นี้ลูกหลานของผู้อ่านบางท่านคงสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงการเปิดภาคเรียน ซึ่งปกติจะเริ่มเปิดเทอมในเดือนมิถุนายน สำหรับข่าวความเคลื่อนไหว การเปิด-ปิดเรียน ในปีการศึกษา 2557 มีดังนี้

จากการติดตามข่าว มีแนวโน้มพอสรุปได้ ณ เวลานี้ ดังต่อไปนี้

1. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติให้มหาวิทยาลัยและสถาบันที่เป็นสมาชิก จำนวน 27 แห่ง (ส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยที่เดิมเคยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย)...
เปิดปีการศึกษา ภาคเรียที่ 1 วันที่ 15 เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม (โดยประมาณ)
ภาคเรียนที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม (โดยประมาณ)
ปิดภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน - วันที่ 14 เดือนสิงหาคม (โดยประมาณ)
ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557
2. ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) มีมติให้มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก
เปิดปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 วันที่ 11 เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม (โดยประมาณ)
ภาคเรียนที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม (โดยประมาณ)
ปิดภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน - วันที่ 10 เดือนสิงหาคม (โดยประมาณ)
ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557
3. มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยสงฆ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีแนวโน้มที่จะเปิดปิด ตาม มติ ทปอ. (มหาวิทยาลัย 27 แห่ง) ตามข้อ 1
4. โรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
เปิดปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 วันที่ 10 เดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน (โดยประมาณ)
ภาคเรียนที่ 2 เดือนธันวาคม - เดือนเมษายน (โดยประมาณ)
ปิดภาคฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม - วันที่ 9 เดือนมิถุนายน (โดยประมาณ)
ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557
5. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มีแนวโน้มจะเปิดปิด พร้อม สพฐ.ตาม ข้อ 3
6. สถาบันการศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะเปิดปิด พร้อม สพฐ. ตามข้อ 3

ถ้าเป็นไปตามนี้ มีผลดังนี้
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ลงมา สิ้นปีการศึกษา 2556 จะมีช่วงวันหยุด ระหว่าง เดือนเมษายน 2557 - วันที่ 9 มิถุนายน 2557 รวมประมาณ 2 เดือนครึ่ง นับแต่สิ้นปีการศึกษ 2557 เป็นต้นไป จะมีช่วงวันหยุด รวมประมาณ 1 เดือนครึ่ง
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า สิ้นปีการศึกษา 2556 จะมีช่วงวันหยุด ระหว่าง เดือนเมษายน 2557 - วันที่ 14 เดือนสิงหาคม 2557 รวมประมาณ 4 เดือนครึ่ง นับแต่สิ้นปีการศึกษ 2557 เป็นต้นไป จะมีช่วงวันหยุด รวมประมาณ 2 เดือนครึ่ง
3) ปีการศึกษ 2557 เป็นต้นไป ในช่วงเดือนเมษายน (อากาศร้อน เทศกาลสงกรานต์ วันครอบครัว และฤดูการท่องเที่ยว) จะมีการเรียนการสอนและสอบปลายปี และเดือนตุลาคม (ช่วงที่มีสถิติน้ำท่วมสูงในหลายจังหวัด) ก็จะมีการเรียนการสอนและสอบปลายภาค ด้วย
4) การเปิดปิดมีความสอดคล้องกับนานาชาติและบางประเทศในอาเซียน สำหรับระดับอุดมศึกษาเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปมาในการเรียนต่อระหว่างประเทศ ได้ ส่วนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขณะท่่ีประเทศไทย เปิดปิดตามเดิมหรือเปิดปิดใหม่ ตามนี้ ก็ไม่มีความสอดคล้องกันกับนานาชาติหรือประเทศไนอาเซียนแต่อย่างใด โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน มีการเปิดปิดแตกต่างกันไปเป็น 3-4 กลุ่ม ปละยังไม่มีการตกลงร่วมกัน
5) การเปิดปิดที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างสถานศึกษาระดับอุดมศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาจจะทำให้เกิดปัญหาการส่งนิสิตนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติการสอน ซึ่งสถาบันผลิตครูจะต้องหารือคุรุสภา เพื่อแก้ปัญหาได้ไม่ยากนัก

       ทั้งนี้ ความเห็นส่วนตัว
1) เห็นด้วยกับการเปิดปิดของสถาบันระดับอุดมศึกษา
2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีการทบทวน และเห็นด้วยที่ สพฐ. จะพิจารณาทบทวน
3) ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมมีการเจรจาตกลงร่วมกันระหว่างประเทศในอาเซียนก่อน

     เนื่องจาก ระดับอุดมศึกษา จำนวนสถานศึกษาและผู้เรียนไม่มากนัก (ประมาณร้อยละ 20 ของวัยเรียน)   มีทำเลที่ตั้งดีและโดยธรรมชาติปฏิ บัติงานตลอดปี ส่วนระด้บการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผู้เรียนกว่าสิบล้านคน คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 มีสถานศึกษากว่า 40,000 แห่ง มีความหลากหลายในทำเลที่ตั้ง มีผลกระทบสูง ไม่ตอบโจทย์อาเซียน

   ข้อมูลจาก
ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ
คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยรชภัฏมหาสารคาม

 
         ประเด็น สำคัญคือเมื่อสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีกิจกรรมการสอบ และประกาศผลผู้สอบได้ กว่าจะได้เรียนโน้นเดือนสิงหาคม ฉะนั้นช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม คงต้องเรียนล่วงหน้าไปพลางๆก่อนหรือไม่ อันนี้ก็ต้องขึ้นกับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะบริหารกันอย่างไร

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปแล้วภาษีคนโสดแค่การนำเสนอของนักวิชาการ

เมื่อวานเข้าเวบไซต์ Facbook  กระแสที่่มาแรงมากในเวบไซต์นี้คือการวิพากษ์วิจารณ์การเก็บภาษีคนโสด ประหนึ่งว่าจะบังคับใช้ในวันสองวัน ขอยกตัวอย่างการสร้างรูปภาพและข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้จากเฟสบุ๊คนะครับ
และมีคอมเมนต์ต่อท้ายประมาณว่าไม่พอใจ ถึงขั้นใช้คำหยาบคายก็มี ซึ่งถ้ามองในแง่หนึ่งรูปภาพบางรูปก็ขำๆคลายเครียด
             แต่การเก็บภาษีคนโสดนั้นในประวัติศาสตร์เคยมีซึ่ง BG พี่ขนฟูเขียนไว้แล้วhttp://www.oknation.net/blog/2279/2013/09/06/entry-2
            หลังจากอ่านคอมเมนต์ต่างๆ ก็เลยตรวจสอบข่าวสารว่าเรื่องนี้เป็นไปเป็นมาอย่างไร ซึ่งความเป็นไปเป็นมาของเรื่องนี้มีดังนี้
       นักวิชาการแนะรัฐ เก็บภาษีคนโสด แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน หลังพบคนไทยปัจจุบันมีครอบครัว-ลูกยาก
     การเสวนาในหัวข้อเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและนโยบายการรองรับในสองทศวรรษหน้า”ที่ มหาวิทยาลัยรังสิต วานนี้ (5ก.ย.นายเทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ เลขานุการคณะเศรษฐศาสตร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวช่วงหนึ่งในการอภิปราย เสนอให้ภาครัฐเรียกเก็บภาษีคนโสด ภาษีคนไม่มีลูก เพื่อกระตุ้นประชาชนให้มีครอบครัว
     หวังจะลดภาระงบประมาณการใช้สวัสดิการ และแก้ปัญหาการคาดแคลนแรงงานในประเทศได้อนาคต หลังพบว่าปัจจุบันอัตราการเจริญพันธุ์ของไทยนั้นต่ำมาก เพียง 1.6 ต่อครอบครัว หรือ 1 คู่สมรส มีลูกเพียง 1 คนกว่าเท่านั้น
     ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้คนมีลูกน้อย หรือไม่ต้องการมีครอบครัว น่าจะมาจากแนวโน้มสังคมเมืองและเศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็ว เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีหนุ่มสาวจะเลือกทำงานเพื่อสร้างฐานะ ความมั่นคงในชีวิตมากกว่าการหาคู่แต่งงานสร้างครอบครัว
     ประกอบกับปัจจุบันค่าครองชีพ และต้นทุนในการเลี้ยงดูบุตรสูงขึ้น ทั้งค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล สินค้าข้าวของแพงขึ้น ครอบครัวส่วนใหญ่จึงเลือกมีลูกน้อย เพราะกลัวจะดูแลได้ไม่ดี
      ดังนั้นจึงได้เสนอให้ภาครัฐมีมาตราการดังกล่าว เพื่อกระตุ้นให้คนมีครอบครัว  มีบุตร จะได้ป้องกันปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้ในอนาคตและนอกจากนี้ภาครัฐควรออก นโยบาย โครงการลูกคนแรก โดยรัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย การเลี้ยงดูให้กับครอบครัวที่มีลูกคนแรก รวมถึงให้เงินอุดหนุน หรือลดภาษีสำหรับครอบครัวที่มีลูกคน 2 และ 3 เพื่อสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้คนอยากมีลูก มีครอบครัวเพิ่มขึ้น
             ที่มาของข้อมูล http://news.mthai.com/general-news/268219.html
      สรุป แล้วเป็นแค่การนำเสนอของนักวิชาการเป้าหมายคือเพิ่มแรงงานในประเทศซึ่งแน่ นอนว่าแรงงานจะขาดแคลนแน่นอน และที่สำคัญประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นประเทศที่มีคนชราเยอะหรือมีสัดส่วนผู้ สูงอายุที่สูง ที่สำคัญ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะถูกทอดทิ้งและยากจน
      อย่างไรก็แล้วแต่ภาครัฐไม่มีนโยบายนี้แน่นอน



วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ชนชั้นบุคลากรมหาวิทยาลัยของรัฐ : ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาหรือไม่?

ข่าวเกี่ยวกับการศึกษาระดับอุดมศึกษาตาม สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ข่าวหนึ่งที่น่าสนใจ น่าศึกษาคือข่าวเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยขอเงินค่าตอบแทนเพิ่ม และทวงเงินค่าตอบแทน ตัวอย่างข่าวมีดังนี้


      ตัดจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์

ตัดจากประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 ถ้าอ่านจากข่าว คนก็จะเข้าใจว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยมีแต่พนักงานมหาวิทยาลัยเท่านั้นหรือ ที่ออกมาเรียกร้อง ในฐานะที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้อยากจะนำเสนอว่าการ บริหารงานบุคคลไม่ได้มีเฉพาะตำแหน่งประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ ยังมีประเภทอื่นๆ และประเภทอื่นๆนี้ มีบางประเภทได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าพนักงานมหาวิทยาลัยอีก แต่ไม่มีข่าวออกมายื่นหนังสือรัฐบาล หรือเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยเหลือเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  เอน ทรี่นี้ขอเสนอข้อมูลว่าการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยของรัฐมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ทั้งนี้ผู้เขียนออกตัวไว้ก่อนว่าอาจจะไม่ครอบคลุมหรือเหมือนกันทั้งหมดทุก มหาวิทยาลัยของรัฐ แต่จะมีความคล้ายคลึงกัน ฉะนั้นผู้เขียนขอสรุปว่าในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีชนชั้นบุคลากร ดังนี้


       จากภาพข้างบนผู้เขียนขอยกตัวอย่างประเภทของบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะเห็นว่ามีอยู่ 7 ประเภทใหญ่ๆ คือ ผู้เชี่ยวชาญ ข้าราชการประเภทวิชาการ ข้าราชการประเภทวิชาชีพเฉพาะ ลูกจ้างประจำ พนักงานวิชาการ พนักงานปฏิบัติการ และสุดท้ายลูกจ้างชั่วคราว

    ขอยกตัวอย่างประเภทบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งแบ่งประเภทไว้ถึง 8 ประเภท ดังนี้

 ที่มา : กองการเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         แล้วกลุ่มไหนละที่เรียกร้องตามที่เป็นข่าว ผู้อ่านตอบได้ไหม ผมจะไม่เฉลย ตาม ชื่อเอนทรี่ที่ผู้เขียนตั้งนั้นคือ ชนชั้นบุคลากรมหาวิทยาลัยของรัฐ : ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาหรือไม่  ผู้เขียนมีเจตนาที่จะชี้ให้เห็นว่าในองค์กรมีการแบ่งชนชั้น นั้นหมายถึงมีฐานะทางสังคม มีเกียรติยศศักดิ์ศรี แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนจนทำให้คุณภาพการศึกษาลดน้อยลง ด้วย ซึ่งผู้เขียนแบ่งชนชั้นบุคลากรของมหาวิทยาลัยของรัฐจากสูงไปหาต่ำได้ดังนี้
       ชนชั้นที่ 1 ข้าราชการ  ชนชั้นนี้ปัจจุบันเริ่มหายากขึ้นในมหาวิทยาลัย แต่แน่นอนเกียรติยศ ศักดิ์ศรี สวัสดิการ ย่อมเป็นชนชั้นสูงสุด ในชนชั้นข้าราชการยังมีการเรียงลำดับด้วย ถ้าเป็นข้าราชการประเภทวิชาการ (อาจารย์) อันดับหนึ่ง ข้าราชการประเภทวิชาชีพเฉพาะ (เจ้าหน้าที่) อันดับสอง
      ชนชั้นที่ 2 ลูกจ้างประจำ ถือเป็นข้าราชการเช่นกัน สวัสดิการไม่ได้แตกต่างจากข้าราชการ
      ชนชั้นที่ 3 พนักงานราชการ ประเภทนี้มีส่วนน้อย ข้อดีคือเงินเดือนสูงกว่าราชการ ข้อเสียสวัสดิการน้อยกว่าข้าราชการใช้ระบบประกันสังคม
      ชนชั้นที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มนี้จะว่าไปแล้วผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นชนชั้นอิสระ ไม่ง้อใคร มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรีที่ไม่น้อยหน้าใคร เพราะเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญสูง ค่าตอบแทนก็สูง ยิ่งถ้าเป็นคนไทยส่วนมากจะเป็นข้าราชการเกษียณ ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงในระบบราชการ
     ชนชั้นที่ 5 พนักงานมหาวิทยาลัย ชนชั้นนี้มีมากขึ้น ซึ่งตัวพนักงานมหาวิทยาลัย ยังมีการแบ่งชนชั้นอีกคือพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทวิชาการ (อาจารย์) พนักงานมหาวิทยาลัยประเภทปฏิบัติการ(เจ้าหน้าที่) กลุ่มนี้ต่อไปในอนาคตจะมาทดแทนข้าราชการ
     ชนชั้นที่ 6 ลูกจ้างชั่วคราว ถือเป็นชั้นต่ำสุดและมีจำนวนมากไม่แพ้พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราวในมหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งยังมีอาจารย์ผู้สอนที่จัดอยู่ใน ประเภทนี้
      ซึ่ง จุดนี้เองที่ผู้เขียนมองว่าในองค์กรมีบุคลากรที่หลากหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะยึดตัวยึดตนว่าฉันเหนือกว่าเพราะสถานะหรือสถานภาพโดยตำแหน่ง จะเป็นตัวทำให้คุณภาพการศึกษาลดลง อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้น
      ข้อเสนอของผู้เขียนที่จะแก้ปัญหานี้ก็คือ ลดชนชั้นลงให้เหลือน้อยที่สุด ถ้าเป็นไปได้ในอนาคตไม่ต้องมีลูกจ้างชั่วคราว จะเหลือแต่พนักงานมหาวิทยาลัยจริงๆ ส่วนข้าราชการ และลูกจ้างประจำยังไงก็ต้องหายไปจากมหาวิทยาลัย เพราะรัฐบาลไม่มีนโยบายรับข้าราชการเพิ่ม ท้ายสุดในมหาวิทยาลัยจะมีแต่พนักงานมหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญ ท้ายสุดขอนำเสนอวีดีโอเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ



วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประท้วงขับไล่อธิการบดี : เกิดอะไรขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาของไทย

          ขณะนั่งรับประทานกวยจั๊บตอนพักเที่ยง ทางร้านเปิดโทรทัศน์ช่อง 3 เป็นข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์ มีภาพข่าวนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และผู้ปกครองกว่า 100 คน เดินทางมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอยื่นหนังสือต่อสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ลาออกทั้งชุด เพราะปล่อยปะละเลยให้นายศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผลตรวจสอบของสตง.ชี้มูลความผิดว่ามีพฤติการณ์ส่อไปทางทุจริตก่อสร้าง อาคารวิทยพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มูลค่า 13 ล้านบาท และคดีทุจริตอื่นๆ รวมถึงความไม่ชอบธรรมการแต่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงของอธิการบดีมหาวิทยาลัยด้วย




ด้วยความสนใจในข่าวนี้กลับมาถึงที่ทำงานลองค้นข้อมูลในเวบไซด์ google ดูว่ามีมหาวิทยาลัยไหนบ้างที่อธิการบดีถูกขับไล่ให้ไปพ้นๆบ้าง พบว่ามีมหาวิทยาลัยหลายมหาวิทยาลัยที่โดนขับไล่ ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้





มีคำถามและคำตอบเกิดขึ้นในใจว่า
1.            อธิการบดี ทำไมต้องโดนขับไล่ เท่า ที่ประมวลข่าวส่วนใหญ่ที่โดนขับไล่เพราะคนที่ขับไล่ เชื่อว่าอธิการบดีทุจริตในหน้าที่ และในกรณีของมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น    สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ชี้มูลความผิดแล้ว 
2.                  เมื่อมีการขับไล่อธิการบดี แล้วมีผลในทางปฏิบัติไหม ซึ่งหมายถึงโดนขับไล่แล้วลาออกไหม ใครมีสิทธิ์ปลดอธิการบดีออกจากตำแหน่ง จากการค้นข้อมูลพบว่ามีการปลดอธิการบดีไปแล้ว 5 มหาวิทยาลัย และผู้มีอำนาจปลดคือกรรมการสภามหาวิทยาลัย (http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000145339)



  ตำแหน่งอธิการบดี ได้มาอย่างไร มีฐานะเทียบเท่ากับตำแหน่งใดในระบบราชการ การ ได้มาซึ่งตำแหน่งอธิการบดีนั้นโดยหลักแล้วก่อนที่ตำแหน่งอธิการบดีว่างลง บางมหาวิทยาลัยอาจกำหนดเวลาไว้ที่ 90 วัน ต้องสรรหาอธิการบดีให้แล้วเสร็จ นั้นหมายความว่าอธิการคนปัจจุบันหมดวาระลงก็มีคนใหม่มาทำงานต่อได้เลย ขั้นตอนหลักๆมีดังนี้
          1. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา
          2. คณะกรรมการสรรหาจัดทำกำหนดการ ประกาศให้ผู้สนใจมาสมัครเพื่อรับการคัดสรร   
         3. ผู้สมัครที่ตนคิดว่ามีคุณสมบัติยื่นใบสมัครต่อคณะกรรมการสรรหา นอกจากจะเปิดรับสมัครแล้ว มีแบบฟอร์มเพื่อให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้ที่ตนคิดว่าเหมาะสมเป็น อธิการบดี
        4. คณะกรรมการสรรหาจะพิจารณากลั่นกรอง ซึ่งจะพิจารณาทั้งคุณสมบัติ และให้ผู้สมัครเสนอนโยบาย แผนพัฒนามหาวิทยาลัย หรือเรียกว่าโชว์วิสัยทัศน์ ทั้งนี้ต้องกลั่นกรองให้ได้รายชื่ออย่างน้อย 3 คน
        5. คณะกรรมการสรรหาลงมติ และผู้ที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี 
       6. ดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี
         ทั้ง นี้ทั้งนั้นการได้มาซึ่งตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยแต่ละมหาวิทยาลัยมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี เองได้ ฉะนั้นขั้นตอนอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยจากที่กล่าวไว้ก็ได้
         ตำแหน่งอธิการบดีจะว่าไปแล้วถ้าเทียบตำแหน่งทางราชการจะเทียบเท่าอธิบดี ฉะนั้นมหาวิทยาลัยมีฐานะเทียบเท่ากรม แต่ตำแหน่งอธิการบดีไม่ได้ไต่เต้าขึ้นมาเหมือนอธิการแต่มีการสรรหา วาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ดำรงตำแหน่งติดต่อกันห้ามเกิน 2 วาระ

    ประเด็น ที่น่าสนใจคือ ผู้ที่สมัครเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการนั้นมีการกำหนดคุณสมบัติอะไรบ้าง มีการกำหนดข้อห้ามอะไรไหม ถ้าเราดูคุณสมบัติของผู้สมัครสอบรับราชการจะมีหลายข้อเช่น
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้
          1. มีสัญชาติไทย
          2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
          3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครอบระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ
          4. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
          5. ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
          6. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกไล่ออกจากราชการไว้ก่อน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
          7. ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
          8. ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
          9. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
          10. ไม่เป็นผู้ต้องเคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความ ผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
          11. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
          12. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
          13. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
          14. ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ
          ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ซึ่งขาดคุณสมบัติ ตาม (7) (9) (10) หรือ (14)  ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (11) หรือ (12) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้วหรือผู้ที่ขาด คุณสมบัติตาม (13) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อ หน้าที่ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้  มติของ ก.พ. ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ ต้องได้คะแนนเสียงสี่ในห้าของจำนวนกรรมการในที่ประชุม การลงมติให้กระทำโดยการลับ
          การ ขอยกเว้นและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคหนึ่งตลอด เวลาที่รับราชการเว้นแต่คุณสมบัติตาม (6) หรือได้รับยกเว้นในกรณีขาดคุณสมบัติตามวรรคสอง
     ผู้ เขียนกำลังตั้งข้อสังเกตว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีข่าวขับไล่อธิการเนื่องจากเห็นว่าอธิการมี คุณสมบัติไม่เหมาะสม โดนชี้มูลความผิดจากการทุจริตนั้น ทำไมก่อนการสรรหาหรือก่อนที่จะได้อธิการมานั้น มีการกลั่นกรองคุณสมบัติหรือไม่ หรือข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาอธิการบดีได้ระบุไว้หรือไม่ว่า ถ้ามีการชี้มูลความผิด ไม่สามารถสมัครชิงตำแหน่งอธิการได้




 ภาพจากเดลินิวส์ออนไลน์

       จากการค้นข้อมูลพบว่าข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี ข้อ 4 ระบุว่าผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี จะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเกณฑ์ท้ายตามข้อบังคับนี้(http://www.meeting.msu.ac.th/meeting_2556/file/documents_51/doc_rules/k_atikan38.pdf) ซึ่งเมื่อ อ่านแล้วพบว่าเกณฑ์ทางด้านบุคลิกภาพ มี 2 ข้อที่ไม่น่านำชื่ออธิการที่โดนขับไล่เข้าสู่ระบบการสรรหา นั้นคือ ต้องมีประวัติดีงาม ทั้งในด้านการงานและส่วนตัว มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อาจารย์ นิสิต ประชาชน (แต่ขณะเข้ารับการสรรหาถูกชี้มูลความผิดจากสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน)
และอีกข้อเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคมมหาวิทยาลัย มีมนุษยสัมพันธ์ดีกับบุคคลทุกระดับทุกประเภท(แต่ขณะเข้ารับการสรรหาถูกต่อต้าน คัดค้านจากสังคมในมหาวิทยาลัย(บางส่วน))
      สรุป แล้วทำไมกรรมการสภามหาวิทยาลัยถึงปล่อยให้บุคคลที่ไม่มีความเหมาะสม มีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม หลุดเข้าสู่ระบบการสรรหาจนได้รับตำแหน่งอธิการบดี (ใน ความเห็นส่วนตัว คิดว่ากรรมการสภามองว่าคดีนี้ยังไม่สิ้นสุด เพียงแค่ถูกชี้มูลความผิด จึงถือว่าบุคคลท่านนี้บริสุทธิ์ มีสิทธิที่จะได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี)
        บท สรุปปัญหานี้เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หรือมุมมองที่แตกต่างกัน จนก่อให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมา นั้นคือ ฝ่ายที่ขับไล่นั้นมองว่าแค่ถูกชี้มูลความผิด ก็ไม่สง่างาม มีมลทิน ไม่สมควรที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี และฝ่ายสรรหามีมุมมองว่าคดียังไม่ถึงที่สุด อยู่ระหว่างการต่อสู้คดี แค่ชี้มูลความผิด ถือว่าบริสุทธิ์ มีสิทธิในการดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้ ฉะนั้นไม่น่าแปลกที่ยื่นหนังสือให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยลาออกยกชุด เพื่อแสดงความรับผิดชอบที่สรรหาคนไม่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งอธิการบดี
    ส่วนเกิดอะไรขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาไทยนั้น ผมมองว่าการบริหารมหาวิทยาลัยเป็นการเมืองไปแล้ว


วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประกันคุณภาพการศึกษา : แค่ยันต์กันผีหรือช่วยให้การศึกษามีคุณภาพ


สืบ เนื่องจากผู้เขียนมีโอกาสรับการอบรมความรู้พื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการ ศึกษา ในวันอังคารที่ 27 กันยายน 2556 อย่างไรก็แล้วแต่อยากจะบอกกับผู้อ่านว่าเรื่องประกันคุณภาพการศึกษานั้นถ้า ไปถามบุคลากรที่ต้องทำเรื่องพวกนี้บางคนจะส่ายหน้า เอือมระอา เหมือนถูกบังคับให้ทำ
        การ ศึกษาของไทยโดยภาพรวมระดับมหภาคจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ขั้นพื้นฐาน นั้นคือการจัดการศึกษาระดับอนุบาล ประถม มัธยม ขั้นอาชีวะศึกษาและขั้นอุดมศึกษา
        ทั้ง 3 ระดับ กฎหมายบังคับให้จัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษากล่าวคือในขั้นตอนสุดท้ายต้องทำเล่มรายงานเพื่อรับการตรวจประเมิน
        การประกันคุณภาพการศึกษามี 2 ประภท ดังนี้
-      ประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานการจัดการศึกษาทุกปีการศึกษา และรายงานไปยังต้นสังกัด เช่นการศึกษาระดับอุดมศึกษาส่งผลรายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่วนผู้ประเมินประกันคุณภาพการศึกษา จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา
-      ประกันคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพประเภทนี้ กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานชื่อสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จะประเมินทุก 5 ปี

      จะ ว่าไปแล้วระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการกำหนดให้สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามเกณฑ์หรือตัวชี้วัดซึ่งถูกกำหนดโดย หน่วยงานต้นสังกัดและสมศ. เช่นถ้าเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวชี้วัดจะถูกกำหนดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดให้รายงาน ผู้ประเมินจะ ไล่แต่ละตัวบ่งชี้ แต่ละเกณฑ์ โดยตรวจเอกสารหลักฐานที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น แล้วก็ให้คะแนน บทสุดท้ายก็จะสรุปออกมาว่าได้คะแนนเท่าไหร่ แล้วมาเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เปรียบเทียบเสร็จก็จะได้คำตอบว่า สถานศึกษานั้นคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับใด
ภาพจากอินเทอร์เน็ต
    ใน การรับการตรวจประเมินภายในนั้น การให้คุณให้โทษไม่รุนแรงเท่าการรับการตรวจประเมินภายนอก ซึ่งกฎหมายให้อำนาจสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สั่งให้สถานศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ผ่านเกณฑ์ งดรับนิสิตนักศึกษา หรือมิให้นิสิตนักศึกษามีสิทธิได้กู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อการศึกษา แต่ ณ ปัจจุบัน ยังไม่เห็นมาตรการลงโทษดังกล่าว
      ส่วน สาเหตุที่บุคลากรที่ต้องทำเรื่องพวกนี้บางคนจะส่ายหน้า เอือมระอานั้น อาจเป็นเพราะต้องเหนื่อยในการรวบรวมเอกสาร หลักฐานตามตัวบ่งชี้หรือตามเกณฑ์ ซึ่งบางครั้งไม่มี ถ้าปล่อยให้ไม่มี คะแนนก็ไม่ได้ ผลลัพธ์ออกมาอาจไม่ผ่านเกณฑ์ หรือได้คะแนนประเมินต่ำ
     เพื่อ ให้เห็นภาพรวมผู้เขียนขอสรุปเกณฑ์หรือตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพการศึกษา เฉพาะระดับอุดมศึกษาเท่านั้น เพื่อให้มองเห็นว่ามันยากแค่ไหนในการทำประกันคุณภาพการศึกษา
                การประกันคุณภาพภายใน มี 9 องค์ประกอบหลัก 1 องค์ประกอบเพิ่ม
-      องค์ ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ มีเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 1 เกณฑ์ หรือเรียกว่าตัวบ่งชี้ ข้อนี้จะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ว่ายาก ที่ว่าง่ายเพราะปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ สถาบันระดับอุดมศึกษาทำอยู่แล้วเป็นปกติ แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนมีสถาบันการศึกษาบางคณะ บางหน่วยงาน ขาดแผนการดำเนินการ (การทำงานขึ้นอยู่กับอธิการ)
-      องค์ประกอบที่ 2 การผลิต มี เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 13 เกณฑ์ หรือ13 ตัวบ่งชี้ ถ้าสถาบันอุดมศึกษาใดเน้นผลิตบัณฑิต องค์ประกอบนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ ไล่ไปตั้งแต่การเปิด การปิดหลักสูตร การบริหารหลักสูตร คุณภาพของอาจารย์ วัสดุอุปกรณ์ ภาวการณ์ได้งานทำของบัณฑิต การพัฒนาอาจารย์ จาก ประสบการณ์ส่วนตัว องค์ประกอบนี้ส่วนมากตัวฉุดคะแนนให้ลดลงคือคุณภาพของอาจารย์ นั้นคือ อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก,ตำแหน่งทางวิชาการ นั้นคือถ้ามีตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ จำนวนมาก คะแนนที่ได้ยิ่งสูง ,ผลงานตีพิมพ์ของนิสิตปริญญาโท ปริญญาเอก ถ้าเปิดสอนถึงระดับปริญญาโท ปริญญาเอก แล้วจำนวนผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่น้อย คะแนนก็จะน้อยตาม

-      องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานิสิต มี เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 2เกณฑ์ หรือ 2 ตัวบ่งชี้ คือมีระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลข่าวสาร, ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจการนิสิต องค์ประกอบนี้ส่วนใหญ่จะได้คะแนนเต็ม ทำได้อยู่แล้ว

-      องค์ ประกอบที่ 4 เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 6 เกณฑ์ หรือ 6 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์,ระบบและกลไกจัดการ ความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์,เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ,งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับ การตีพิมพ์หรือเผยแพร่,งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และผล งานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จาก ประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยาก จะได้คะแนนเต็มก็แสนได้ง่าย จะได้คะแนนเต็มก็แสนได้ยาก เพราะว่าถ้าสถาบันการศึกษาใดหาเงินทุนวิจัยได้มาก ซึ่ง ขึ้นอยู่กับอาจารย์ด้วยถ้าอาจารย์มีความสามารถเขียนโครงการขอเงินทุนวิจัย จากภายนอกเช่น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจะมีหนังสือไปยังสถาบันการศึกษาให้ขอทุนวิจัยอยู่แล้ว ฉะนั้น ผลงานวิจัยก็มีมาก และมีโอกาสนำงานวิจัยส่งไปตีพิมพ์ แค่นี้ก็ได้คะแนนเต็มแล้ว แต่ถ้าสถาบันการศึกษาใดก้มหน้าก้มตาสอน ไม่ได้ทำวิจัย ไม่ได้ขอทุนสนับสนุนวิจัย องค์ประกอบนี้มีโอกาสได้คะแนนต่ำ ตกเกณฑ์แน่นอน

-      องค์ ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 4เกณฑ์ หรือ 4 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม,กระบวนการบริการวิชาการ ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม,ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการ วิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัยและผลการเรียนรู้และ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก จากประสบการณ์องค์ประกอบจะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว

-      องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เกณฑ์ ที่ต้องปฏิบัติตาม 3 เกณฑ์ หรือ 3 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม,การส่งเสริมและสนับสนุน ด้านศิลปะและวัฒนธรรมและการพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม จากประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว
-      องค์ ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 6เกณฑ์ หรือ 6 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน,การพัฒนา สถาบันสู่สถาบันเรียนรู้,ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจการ ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน และการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบันจากประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว
-      องค์ ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 1เกณฑ์ หรือ 1 ตัวบ่งชี้ นั้นคือการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน จากประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว
-      องค์ ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 2 เกณฑ์ หรือ 2 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและผลประเมินการประกัน คุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด จากประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว
-      องค์ ประกอบที่ 10 อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 1เกณฑ์ หรือ 1 ตัวบ่งชี้ นั้นคือระดับความสำเร็จของการเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน  องค์ ประกอบนี้เป็นของใหม่ จากประสบการณ์จำได้ว่าสถาบันการศึกษาแต่ละสถาบันมีการให้เสนออัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของสถาบัน และมีการโหวต หรือแจ้งเวียนว่าจะใช้อะไร เมื่อตกลงได้แน่ชัดแล้วก็กำหนดใช้ในสถาบันต่อไป
นี้ คือรูปร่างหน้าตาของการประกันคุณภาพภายใน เมื่อถึงเวลาที่ต้องรับการประเมิน จะต้องเขียนเล่มรายงานซึ่งมีแบบฟอร์มการเขียนให้แต่คร่าวๆจะมีบทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงประวัติ ข้อมูลของสถาบันหรือคณะ หรือสาขาวิชา ภาควิชา บทที่ 2 องค์ประกอบ ตัวชี้วัด นั้นคือเขียนทุกองค์ประกอบทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบทุกตัวบ่งชี้จะเขียนผลการปฏิบัติงานว่าได้ทำตามที่ตัว บ่งชี้กำหนดไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น
องค์ประกอบที่  2  การผลิตบัณฑิต
ตัวบ่งชี้ที่  2.1  ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
ชนิดของตัวบ่งชี้:        กระบวนการ
ผู้รับผิดชอบหลัก:       ……………………………………………… 


เกณฑ์มาตรฐาน:
        1. มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
        2. มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
        3. ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (การ ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขา หรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน กรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตามตัวบ่งชี้กลางที่กำหนด) สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย
        (หมายเหตุ: สำหรับหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรปรับปรุงที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนปีการศึกษา 2555 ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.. 2548)
        4. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อย   ตาม กรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปีทุกหลักสูตร
        5. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร
          หมายเหตุ : คณะกรรมการรับผิดชอบ หมายถึง คณะกรรมการที่รับผิดชอบในการเสนอหลักสูตรใหมหรือเสนอปรับปรุงหลักสูตร หรือเสนอปดหลักสูตร และคณะกรรมการที่รับผิดชอบบริหารหลักสูตร ใหเปนไปตามรายละเอียดหลักสูตรที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ ซึ่งอาจเปนชุดเดียวกันทั้งหมดหรือตางชุดก็ได
เกณฑ์การประเมิน :
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
   4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 ข้อ

ผลการดำเนินงาน
     ………………………………………….
เมื่อเขียนผลการดำเนินงานแล้วก็เทียบกับเกณฑ์ข้างต้นว่าทำได้กี่ข้อ ได้กี่คะแนน
รายการหลักฐานอ้างอิง  เป็น การรวบรวมเอกสารใส่แฟ้มไว้ เพื่อให้กรรมการได้ตรวจทานว่า สิ่งที่คุณเขียนผลการดำเนินงาน มีเอกสารรองรับไหม ถ้าเอกสารหลักฐานครบก็ได้คะแนนตามที่ตัวเองประเมิน แต่ถ้าไม่ครบหรือเอกสารไม่ถูกต้องกรรมการก็จะซักถาม หรือให้ข้อเสนอแนะ ว่าทำเพิ่มหรือปรับปรุงได้ไหม ถ้าไม่ได้กรรมการก็จะขอตัดคะแนนลง
       นี้ คือการเขียนรายงานจะเขียนลักษณะนี้ จะเขียนทุกองค์ประกอบทุกตัวบ่งชี้ พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานด้วย การประกันคุณภาพภายในให้เขียนรายงานและตรวจประเมินทุกปีการศึกษา


  ภาพจากอินเทอร์เน็ต
การ ประกันคุณภาพภายนอกซึ่งหน่วยงานสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษา (สมศ.) เป็นผู้ประเมิน จะประเมินทุก 5 ปี ซึ่งสถาบันการศึกษาต้องเขียนรายงานเหมือนกัน ลักษณะการเขียนก็คล้ายๆการประกันคุณภาพภายใน นั้นคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลของสถาบัน ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ และส่วนสุดท้ายเอกสารหลักฐาน  การประกันคุณภาพมี 18 ตัวบ่งชี้
    ที่ตั้งชื่อเอนทรี่ว่าการประกันคุณภาพการศึกษา : แค่ ยันต์กันผีหรือช่วยให้การศึกษามีคุณภาพ นั้นผู้เขียนเปรียบรายงานประกันคุณภาพว่าเป็นยันต์ส่วนผีนั้นคือคณะกรรมการ ที่มาประเมิน เพราะเหตุใดถึงกล่าวเช่นนั้น เนื่องจากประสบการณ์ส่วนตัวที่คลุกคลีในการจัดทำรายงานประกันคุณภาพ จะเห็นว่าพอครบวงรอบที่จะต้องจัดทำเล่มรายงานเพื่อรับการประเมินนั้น จะเหมือนเทศกาลจัดงานบุญประเพณี กล่าวคือจะเกิดบรรยากาศความวุ่นวายในการหาเอกสารหลักฐาน การเขียนเล่มรายงาน ตัวบ่งชี้ไหนที่ไม่มีเอกสารหลักฐานพอที่จะเสกให้มีได้ก็เสกให้มีถ้าเสกไม่ ได้ก็ช่างมัน ยอมที่จะได้คะแนนประเมินต่ำ พอประเมินเสร็จบรรยากาศก็เข้าสู่ภาวะปกติ
   แต่ ก็มีบางสถาบันการศึกษาที่ผู้เขียนเคยสัมผัส จัดระบบงานประกันคุณภาพไว้ดีมาก เป็นปฏิทินออกมา และจะมีผู้บริหารกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงาน พอถึงกำหนดที่จะเขียนรายงาน แสดงเอกสารหลักฐาน ก็ยกแฟ้มออกมาให้ตรวจได้เลย น่าชื่นชมยิ่ง ได้คะแนนแค่ไหนก็เอาแค่นั้น เพราะปฏิบัติงานเต็มศักยภาพแล้ว สรุปแล้วการประกันคุณภาพเป็นทั้งยันต์กันผีและเพิ่มคุณภาพการศึกษาครับ