วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประกันคุณภาพการศึกษา : แค่ยันต์กันผีหรือช่วยให้การศึกษามีคุณภาพ


สืบ เนื่องจากผู้เขียนมีโอกาสรับการอบรมความรู้พื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการ ศึกษา ในวันอังคารที่ 27 กันยายน 2556 อย่างไรก็แล้วแต่อยากจะบอกกับผู้อ่านว่าเรื่องประกันคุณภาพการศึกษานั้นถ้า ไปถามบุคลากรที่ต้องทำเรื่องพวกนี้บางคนจะส่ายหน้า เอือมระอา เหมือนถูกบังคับให้ทำ
        การ ศึกษาของไทยโดยภาพรวมระดับมหภาคจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ขั้นพื้นฐาน นั้นคือการจัดการศึกษาระดับอนุบาล ประถม มัธยม ขั้นอาชีวะศึกษาและขั้นอุดมศึกษา
        ทั้ง 3 ระดับ กฎหมายบังคับให้จัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษากล่าวคือในขั้นตอนสุดท้ายต้องทำเล่มรายงานเพื่อรับการตรวจประเมิน
        การประกันคุณภาพการศึกษามี 2 ประภท ดังนี้
-      ประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานการจัดการศึกษาทุกปีการศึกษา และรายงานไปยังต้นสังกัด เช่นการศึกษาระดับอุดมศึกษาส่งผลรายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่วนผู้ประเมินประกันคุณภาพการศึกษา จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา
-      ประกันคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพประเภทนี้ กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานชื่อสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จะประเมินทุก 5 ปี

      จะ ว่าไปแล้วระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการกำหนดให้สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามเกณฑ์หรือตัวชี้วัดซึ่งถูกกำหนดโดย หน่วยงานต้นสังกัดและสมศ. เช่นถ้าเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวชี้วัดจะถูกกำหนดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดให้รายงาน ผู้ประเมินจะ ไล่แต่ละตัวบ่งชี้ แต่ละเกณฑ์ โดยตรวจเอกสารหลักฐานที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น แล้วก็ให้คะแนน บทสุดท้ายก็จะสรุปออกมาว่าได้คะแนนเท่าไหร่ แล้วมาเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เปรียบเทียบเสร็จก็จะได้คำตอบว่า สถานศึกษานั้นคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับใด
ภาพจากอินเทอร์เน็ต
    ใน การรับการตรวจประเมินภายในนั้น การให้คุณให้โทษไม่รุนแรงเท่าการรับการตรวจประเมินภายนอก ซึ่งกฎหมายให้อำนาจสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สั่งให้สถานศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ผ่านเกณฑ์ งดรับนิสิตนักศึกษา หรือมิให้นิสิตนักศึกษามีสิทธิได้กู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อการศึกษา แต่ ณ ปัจจุบัน ยังไม่เห็นมาตรการลงโทษดังกล่าว
      ส่วน สาเหตุที่บุคลากรที่ต้องทำเรื่องพวกนี้บางคนจะส่ายหน้า เอือมระอานั้น อาจเป็นเพราะต้องเหนื่อยในการรวบรวมเอกสาร หลักฐานตามตัวบ่งชี้หรือตามเกณฑ์ ซึ่งบางครั้งไม่มี ถ้าปล่อยให้ไม่มี คะแนนก็ไม่ได้ ผลลัพธ์ออกมาอาจไม่ผ่านเกณฑ์ หรือได้คะแนนประเมินต่ำ
     เพื่อ ให้เห็นภาพรวมผู้เขียนขอสรุปเกณฑ์หรือตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพการศึกษา เฉพาะระดับอุดมศึกษาเท่านั้น เพื่อให้มองเห็นว่ามันยากแค่ไหนในการทำประกันคุณภาพการศึกษา
                การประกันคุณภาพภายใน มี 9 องค์ประกอบหลัก 1 องค์ประกอบเพิ่ม
-      องค์ ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ มีเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 1 เกณฑ์ หรือเรียกว่าตัวบ่งชี้ ข้อนี้จะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ว่ายาก ที่ว่าง่ายเพราะปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ สถาบันระดับอุดมศึกษาทำอยู่แล้วเป็นปกติ แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนมีสถาบันการศึกษาบางคณะ บางหน่วยงาน ขาดแผนการดำเนินการ (การทำงานขึ้นอยู่กับอธิการ)
-      องค์ประกอบที่ 2 การผลิต มี เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 13 เกณฑ์ หรือ13 ตัวบ่งชี้ ถ้าสถาบันอุดมศึกษาใดเน้นผลิตบัณฑิต องค์ประกอบนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ ไล่ไปตั้งแต่การเปิด การปิดหลักสูตร การบริหารหลักสูตร คุณภาพของอาจารย์ วัสดุอุปกรณ์ ภาวการณ์ได้งานทำของบัณฑิต การพัฒนาอาจารย์ จาก ประสบการณ์ส่วนตัว องค์ประกอบนี้ส่วนมากตัวฉุดคะแนนให้ลดลงคือคุณภาพของอาจารย์ นั้นคือ อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก,ตำแหน่งทางวิชาการ นั้นคือถ้ามีตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ จำนวนมาก คะแนนที่ได้ยิ่งสูง ,ผลงานตีพิมพ์ของนิสิตปริญญาโท ปริญญาเอก ถ้าเปิดสอนถึงระดับปริญญาโท ปริญญาเอก แล้วจำนวนผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่น้อย คะแนนก็จะน้อยตาม

-      องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานิสิต มี เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 2เกณฑ์ หรือ 2 ตัวบ่งชี้ คือมีระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลข่าวสาร, ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจการนิสิต องค์ประกอบนี้ส่วนใหญ่จะได้คะแนนเต็ม ทำได้อยู่แล้ว

-      องค์ ประกอบที่ 4 เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 6 เกณฑ์ หรือ 6 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์,ระบบและกลไกจัดการ ความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์,เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ,งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับ การตีพิมพ์หรือเผยแพร่,งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และผล งานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จาก ประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยาก จะได้คะแนนเต็มก็แสนได้ง่าย จะได้คะแนนเต็มก็แสนได้ยาก เพราะว่าถ้าสถาบันการศึกษาใดหาเงินทุนวิจัยได้มาก ซึ่ง ขึ้นอยู่กับอาจารย์ด้วยถ้าอาจารย์มีความสามารถเขียนโครงการขอเงินทุนวิจัย จากภายนอกเช่น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจะมีหนังสือไปยังสถาบันการศึกษาให้ขอทุนวิจัยอยู่แล้ว ฉะนั้น ผลงานวิจัยก็มีมาก และมีโอกาสนำงานวิจัยส่งไปตีพิมพ์ แค่นี้ก็ได้คะแนนเต็มแล้ว แต่ถ้าสถาบันการศึกษาใดก้มหน้าก้มตาสอน ไม่ได้ทำวิจัย ไม่ได้ขอทุนสนับสนุนวิจัย องค์ประกอบนี้มีโอกาสได้คะแนนต่ำ ตกเกณฑ์แน่นอน

-      องค์ ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 4เกณฑ์ หรือ 4 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม,กระบวนการบริการวิชาการ ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม,ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการ วิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัยและผลการเรียนรู้และ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก จากประสบการณ์องค์ประกอบจะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว

-      องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เกณฑ์ ที่ต้องปฏิบัติตาม 3 เกณฑ์ หรือ 3 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม,การส่งเสริมและสนับสนุน ด้านศิลปะและวัฒนธรรมและการพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม จากประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว
-      องค์ ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 6เกณฑ์ หรือ 6 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน,การพัฒนา สถาบันสู่สถาบันเรียนรู้,ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจการ ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน และการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบันจากประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว
-      องค์ ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 1เกณฑ์ หรือ 1 ตัวบ่งชี้ นั้นคือการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน จากประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว
-      องค์ ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 2 เกณฑ์ หรือ 2 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและผลประเมินการประกัน คุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด จากประสบการณ์องค์ประกอบนี้จะได้คะแนนเต็ม ชิวชิว
-      องค์ ประกอบที่ 10 อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ เกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม 1เกณฑ์ หรือ 1 ตัวบ่งชี้ นั้นคือระดับความสำเร็จของการเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน  องค์ ประกอบนี้เป็นของใหม่ จากประสบการณ์จำได้ว่าสถาบันการศึกษาแต่ละสถาบันมีการให้เสนออัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของสถาบัน และมีการโหวต หรือแจ้งเวียนว่าจะใช้อะไร เมื่อตกลงได้แน่ชัดแล้วก็กำหนดใช้ในสถาบันต่อไป
นี้ คือรูปร่างหน้าตาของการประกันคุณภาพภายใน เมื่อถึงเวลาที่ต้องรับการประเมิน จะต้องเขียนเล่มรายงานซึ่งมีแบบฟอร์มการเขียนให้แต่คร่าวๆจะมีบทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงประวัติ ข้อมูลของสถาบันหรือคณะ หรือสาขาวิชา ภาควิชา บทที่ 2 องค์ประกอบ ตัวชี้วัด นั้นคือเขียนทุกองค์ประกอบทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบทุกตัวบ่งชี้จะเขียนผลการปฏิบัติงานว่าได้ทำตามที่ตัว บ่งชี้กำหนดไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น
องค์ประกอบที่  2  การผลิตบัณฑิต
ตัวบ่งชี้ที่  2.1  ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
ชนิดของตัวบ่งชี้:        กระบวนการ
ผู้รับผิดชอบหลัก:       ……………………………………………… 


เกณฑ์มาตรฐาน:
        1. มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
        2. มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
        3. ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (การ ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขา หรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน กรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตามตัวบ่งชี้กลางที่กำหนด) สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย
        (หมายเหตุ: สำหรับหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรปรับปรุงที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนปีการศึกษา 2555 ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.. 2548)
        4. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อย   ตาม กรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปีทุกหลักสูตร
        5. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร
          หมายเหตุ : คณะกรรมการรับผิดชอบ หมายถึง คณะกรรมการที่รับผิดชอบในการเสนอหลักสูตรใหมหรือเสนอปรับปรุงหลักสูตร หรือเสนอปดหลักสูตร และคณะกรรมการที่รับผิดชอบบริหารหลักสูตร ใหเปนไปตามรายละเอียดหลักสูตรที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ ซึ่งอาจเปนชุดเดียวกันทั้งหมดหรือตางชุดก็ได
เกณฑ์การประเมิน :
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
   4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 ข้อ

ผลการดำเนินงาน
     ………………………………………….
เมื่อเขียนผลการดำเนินงานแล้วก็เทียบกับเกณฑ์ข้างต้นว่าทำได้กี่ข้อ ได้กี่คะแนน
รายการหลักฐานอ้างอิง  เป็น การรวบรวมเอกสารใส่แฟ้มไว้ เพื่อให้กรรมการได้ตรวจทานว่า สิ่งที่คุณเขียนผลการดำเนินงาน มีเอกสารรองรับไหม ถ้าเอกสารหลักฐานครบก็ได้คะแนนตามที่ตัวเองประเมิน แต่ถ้าไม่ครบหรือเอกสารไม่ถูกต้องกรรมการก็จะซักถาม หรือให้ข้อเสนอแนะ ว่าทำเพิ่มหรือปรับปรุงได้ไหม ถ้าไม่ได้กรรมการก็จะขอตัดคะแนนลง
       นี้ คือการเขียนรายงานจะเขียนลักษณะนี้ จะเขียนทุกองค์ประกอบทุกตัวบ่งชี้ พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานด้วย การประกันคุณภาพภายในให้เขียนรายงานและตรวจประเมินทุกปีการศึกษา


  ภาพจากอินเทอร์เน็ต
การ ประกันคุณภาพภายนอกซึ่งหน่วยงานสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษา (สมศ.) เป็นผู้ประเมิน จะประเมินทุก 5 ปี ซึ่งสถาบันการศึกษาต้องเขียนรายงานเหมือนกัน ลักษณะการเขียนก็คล้ายๆการประกันคุณภาพภายใน นั้นคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลของสถาบัน ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ และส่วนสุดท้ายเอกสารหลักฐาน  การประกันคุณภาพมี 18 ตัวบ่งชี้
    ที่ตั้งชื่อเอนทรี่ว่าการประกันคุณภาพการศึกษา : แค่ ยันต์กันผีหรือช่วยให้การศึกษามีคุณภาพ นั้นผู้เขียนเปรียบรายงานประกันคุณภาพว่าเป็นยันต์ส่วนผีนั้นคือคณะกรรมการ ที่มาประเมิน เพราะเหตุใดถึงกล่าวเช่นนั้น เนื่องจากประสบการณ์ส่วนตัวที่คลุกคลีในการจัดทำรายงานประกันคุณภาพ จะเห็นว่าพอครบวงรอบที่จะต้องจัดทำเล่มรายงานเพื่อรับการประเมินนั้น จะเหมือนเทศกาลจัดงานบุญประเพณี กล่าวคือจะเกิดบรรยากาศความวุ่นวายในการหาเอกสารหลักฐาน การเขียนเล่มรายงาน ตัวบ่งชี้ไหนที่ไม่มีเอกสารหลักฐานพอที่จะเสกให้มีได้ก็เสกให้มีถ้าเสกไม่ ได้ก็ช่างมัน ยอมที่จะได้คะแนนประเมินต่ำ พอประเมินเสร็จบรรยากาศก็เข้าสู่ภาวะปกติ
   แต่ ก็มีบางสถาบันการศึกษาที่ผู้เขียนเคยสัมผัส จัดระบบงานประกันคุณภาพไว้ดีมาก เป็นปฏิทินออกมา และจะมีผู้บริหารกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงาน พอถึงกำหนดที่จะเขียนรายงาน แสดงเอกสารหลักฐาน ก็ยกแฟ้มออกมาให้ตรวจได้เลย น่าชื่นชมยิ่ง ได้คะแนนแค่ไหนก็เอาแค่นั้น เพราะปฏิบัติงานเต็มศักยภาพแล้ว สรุปแล้วการประกันคุณภาพเป็นทั้งยันต์กันผีและเพิ่มคุณภาพการศึกษาครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น