วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ชนชั้นบุคลากรมหาวิทยาลัยของรัฐ : ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาหรือไม่?

ข่าวเกี่ยวกับการศึกษาระดับอุดมศึกษาตาม สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ข่าวหนึ่งที่น่าสนใจ น่าศึกษาคือข่าวเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยขอเงินค่าตอบแทนเพิ่ม และทวงเงินค่าตอบแทน ตัวอย่างข่าวมีดังนี้


      ตัดจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์

ตัดจากประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 ถ้าอ่านจากข่าว คนก็จะเข้าใจว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยมีแต่พนักงานมหาวิทยาลัยเท่านั้นหรือ ที่ออกมาเรียกร้อง ในฐานะที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้อยากจะนำเสนอว่าการ บริหารงานบุคคลไม่ได้มีเฉพาะตำแหน่งประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ ยังมีประเภทอื่นๆ และประเภทอื่นๆนี้ มีบางประเภทได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าพนักงานมหาวิทยาลัยอีก แต่ไม่มีข่าวออกมายื่นหนังสือรัฐบาล หรือเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยเหลือเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  เอน ทรี่นี้ขอเสนอข้อมูลว่าการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยของรัฐมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ทั้งนี้ผู้เขียนออกตัวไว้ก่อนว่าอาจจะไม่ครอบคลุมหรือเหมือนกันทั้งหมดทุก มหาวิทยาลัยของรัฐ แต่จะมีความคล้ายคลึงกัน ฉะนั้นผู้เขียนขอสรุปว่าในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีชนชั้นบุคลากร ดังนี้


       จากภาพข้างบนผู้เขียนขอยกตัวอย่างประเภทของบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะเห็นว่ามีอยู่ 7 ประเภทใหญ่ๆ คือ ผู้เชี่ยวชาญ ข้าราชการประเภทวิชาการ ข้าราชการประเภทวิชาชีพเฉพาะ ลูกจ้างประจำ พนักงานวิชาการ พนักงานปฏิบัติการ และสุดท้ายลูกจ้างชั่วคราว

    ขอยกตัวอย่างประเภทบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งแบ่งประเภทไว้ถึง 8 ประเภท ดังนี้

 ที่มา : กองการเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         แล้วกลุ่มไหนละที่เรียกร้องตามที่เป็นข่าว ผู้อ่านตอบได้ไหม ผมจะไม่เฉลย ตาม ชื่อเอนทรี่ที่ผู้เขียนตั้งนั้นคือ ชนชั้นบุคลากรมหาวิทยาลัยของรัฐ : ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาหรือไม่  ผู้เขียนมีเจตนาที่จะชี้ให้เห็นว่าในองค์กรมีการแบ่งชนชั้น นั้นหมายถึงมีฐานะทางสังคม มีเกียรติยศศักดิ์ศรี แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนจนทำให้คุณภาพการศึกษาลดน้อยลง ด้วย ซึ่งผู้เขียนแบ่งชนชั้นบุคลากรของมหาวิทยาลัยของรัฐจากสูงไปหาต่ำได้ดังนี้
       ชนชั้นที่ 1 ข้าราชการ  ชนชั้นนี้ปัจจุบันเริ่มหายากขึ้นในมหาวิทยาลัย แต่แน่นอนเกียรติยศ ศักดิ์ศรี สวัสดิการ ย่อมเป็นชนชั้นสูงสุด ในชนชั้นข้าราชการยังมีการเรียงลำดับด้วย ถ้าเป็นข้าราชการประเภทวิชาการ (อาจารย์) อันดับหนึ่ง ข้าราชการประเภทวิชาชีพเฉพาะ (เจ้าหน้าที่) อันดับสอง
      ชนชั้นที่ 2 ลูกจ้างประจำ ถือเป็นข้าราชการเช่นกัน สวัสดิการไม่ได้แตกต่างจากข้าราชการ
      ชนชั้นที่ 3 พนักงานราชการ ประเภทนี้มีส่วนน้อย ข้อดีคือเงินเดือนสูงกว่าราชการ ข้อเสียสวัสดิการน้อยกว่าข้าราชการใช้ระบบประกันสังคม
      ชนชั้นที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มนี้จะว่าไปแล้วผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นชนชั้นอิสระ ไม่ง้อใคร มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรีที่ไม่น้อยหน้าใคร เพราะเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญสูง ค่าตอบแทนก็สูง ยิ่งถ้าเป็นคนไทยส่วนมากจะเป็นข้าราชการเกษียณ ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงในระบบราชการ
     ชนชั้นที่ 5 พนักงานมหาวิทยาลัย ชนชั้นนี้มีมากขึ้น ซึ่งตัวพนักงานมหาวิทยาลัย ยังมีการแบ่งชนชั้นอีกคือพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทวิชาการ (อาจารย์) พนักงานมหาวิทยาลัยประเภทปฏิบัติการ(เจ้าหน้าที่) กลุ่มนี้ต่อไปในอนาคตจะมาทดแทนข้าราชการ
     ชนชั้นที่ 6 ลูกจ้างชั่วคราว ถือเป็นชั้นต่ำสุดและมีจำนวนมากไม่แพ้พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราวในมหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งยังมีอาจารย์ผู้สอนที่จัดอยู่ใน ประเภทนี้
      ซึ่ง จุดนี้เองที่ผู้เขียนมองว่าในองค์กรมีบุคลากรที่หลากหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะยึดตัวยึดตนว่าฉันเหนือกว่าเพราะสถานะหรือสถานภาพโดยตำแหน่ง จะเป็นตัวทำให้คุณภาพการศึกษาลดลง อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้น
      ข้อเสนอของผู้เขียนที่จะแก้ปัญหานี้ก็คือ ลดชนชั้นลงให้เหลือน้อยที่สุด ถ้าเป็นไปได้ในอนาคตไม่ต้องมีลูกจ้างชั่วคราว จะเหลือแต่พนักงานมหาวิทยาลัยจริงๆ ส่วนข้าราชการ และลูกจ้างประจำยังไงก็ต้องหายไปจากมหาวิทยาลัย เพราะรัฐบาลไม่มีนโยบายรับข้าราชการเพิ่ม ท้ายสุดในมหาวิทยาลัยจะมีแต่พนักงานมหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญ ท้ายสุดขอนำเสนอวีดีโอเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น