วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แรงเกินไปไหมกับข้อกบฎที่ยัดเยียดให้คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ

         ณ ปัจจุบันนี้การเมืองของไทยร้อนระอุ ซึ่งไม่ควรจะเป็นอย่างยิ่งในสัปดาห์นี้ บรรยากาศที่ควรจะเป็นนั้นควรอยู่ในช่วงเตรียมตัวเฉลิมฉลองเนื่องในวันพ่อ
      แกนนำอย่างคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้นมีการยัดเยียดข้อหาพร้อมมีหมายจับข้อหากบฎ ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยกับนักวิชาการบางท่านที่ออกมาแสดงความเห็นว่าตั้งข้อหารุนแรงเกินไป  งั้นเรามาดูตัวบทกฎหมายกันดีกว่าครับ
                                   ประมวลกฎหมายอาญา 
               หมวด 2 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร
มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
      (1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
      (2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
      (3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร

           กรณีของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่นักวิชาการบางท่านออกมาพูดว่าตั้งข้อหารุนแรงเกินไป ถ้าตีความก็หมายความว่าการกระทำของคุณสุเทพไม่ถึงกับมีความผิดฐานกบฎ
            ถ้าดูการเรียกร้องของคุณสุเทพ ข้อที่ 1 ไม่ได้ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ข้อที่ 2 ก็ไม่ใช่เพราะเห็นว่าถึงแม้นายกฯจะยุบสภาแกก็ไม่ยอม ส่วนข้อ 3 แกก็ไม่ได้แบ่งแยกราชอาณาจักร
ฉะนั้นข้อคงมีการตีความว่าการกระทำน่าจะเข้าข้อที่ 3 ซึ่งคงมาจากที่แกบอกว่าจะตั้งสภาประชาชน การตั้งสภาประชาชนคงจะหมายถึงล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร ส่วนหนึ่งข้อเรียกร้องหนึ่งของแกคือล้างระบอบทักษิณ ผมฟันธงว่าแกตายและเกิดอีกสิบชาติ ก็ล้างไม่ได้หรอก เพราะระบอบทักษิณเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ แม้ตัวทักษิณเอง ก็ยังจับไม่ได้ มิหนำซ้ำยังมีนายตำรวจใหญ่ รัฐมนตรี ส.ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน แห่แหนไปเยี่ยมเยียนอีกต่างหาก

           สรุปแล้วผู้เขียนเห็นว่าการกระทำของคุณสุเทพน่าจะเข้ามาตรา 116 และมาตรา117 มีข้อความดังนี้

         มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
       (1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
       (2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
        (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี


          มาตรา 117 ผู้ใดยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน การร่วม กันปิดงานงดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจ กับบุคคลใด ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อ บังคับรัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าวและเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการ ร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้า ขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้หวาดกลัวด้วยประการใด ๆ เพื่อ ให้บุคคลเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิด งานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับ บุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น